พี่หมีอยากเล่าประวัติ Lambretta

ประวัติLambretta

พี่หมีอยากเล่าประวัติ Lambretta

Spread the love

จากการเยี่ยมชมโรงงานของ Starace เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1939 เขาได้กล่าวไว้ว่าโรงงานของ Innocenti “ มีลักษณะแบบฟาสซิสต์ ” เพราะทำการผลิตเฉพาะกระสุนปืนเท่านั้น แรงงานประมาณ 90% ถูกนำไปใช้ในการผลิตเพื่อการสงครามในปี 1939 คนงานของ Innocenti ผลิตกระสุนปืนคิดเป็น 5.5% ของการผลิต ยุทธปัจจัยทั้งหมด ของอิตาลแต่เมื่อคำนึงถึงการผลิตทางด้านเครื่องจักรก ลแล้วกลับมีปริมาณถึง 17% ของการผลิตทั้งหมดภายในเวลาเพียง 4 ปี Innocenti สามารถสร้างโรงงานได้เพิ่มขึ้นสามเท่าตัว และสร้างยอดการผลิตได้ถึงสิบเท่า 

โดยในปี 1943 เขาสามารถผลิตกระสุนปืนได้ถึง 36,000 นัดต่อวัน ในปี 1938 โรงงานที่ Milan มีจำนวนคนงานประมาณ 800 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 – 3,000 – 6,000 คน และมากกว่า 7,000 คนในปี 1940 – 1942 และ 1943 ตามลำดับคนงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ และในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงถึง 50% 

Innocenti สามารถทำกำไรได้ถึง 2,119,000 ลีร์ในปี 1939 – 4,231,000 ลีร์ ในปี 1940 – 10,118,500 ลีร์ ในปี 1941 – 12,298,000 ลีร์ ในปี 1942 และ 10,783,000 ลีร์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1943 เงินสำรองเพิ่มขึ้นจาก 2,200,000 เป็น 8,468,000
และในวันที่ 11 มีนาคม 1940 คณะกรรมการบริหารได้เพิ่มเงินลงทุนจาก 20 ล้าน ลีร์ เป็น 50 ล้าน ลีร์ และเมื่อวันที่ 8 เมษายน 1941 ก็ได้เพิ่มเงินลงทุนจาก 50 ล้าน ลีร์ เป็น 100 ลีร์ เพิ่มจำนวนหุ้นเป็น 80,000 หุ้นในราคาหุ้นละ 1,000 ลีร์ จำนวนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 12 รายลดเหลือเพียง 3 รายการเท่านั้น ( Ferdinando Innocenti 80%, Rosolino 15% และ Missiroli 5%) 

และในวันที่ 11 มีนาคม 1940 คณะกรรมการได้มีมติเลือก Edmond Balbo พี่น้องตระกูล Innocenti และ Paolo Missiroli ให้เป็นกรรมการบริหารชุดใหม่ ในปี 1942 Innocenti รู้สึกว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแยกบริษัทออก ส่วนหนึ่งนั้นตั้งชื่อว่า Lambro ทำหน้าที่ในการผลิต อีกส่วนหนึ่งนั้นตั้งชื่อว่า ATA ( Applicazioni Tubolari Acciaio) ดำเนินการทางด้านการค้าเป็นหลัก แต่จากภาวะสงครามในปี 1943 ทำให้เขาต้องระงับความคิดนี้ไว้ก่อน จนกระทั่งถึงวันที่ 29 เมษายน 1943 Innocenti จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริหาร เป็นทั้งผู้บริหารและผู้จัดการทั่วไปแต่เพียงผู้เดียว 

หลังวันที่ 8 กันยายน 1943 บริษัทต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพเยอรมัน แม้ว่าจะมีแรงต่อต้านจากภายในก็ตาม ในช่วงเวลานั้นการผลิตเพื่ออุดหนุนกองทัพยังคงดำเนิน ต่อไป ในช่วงนี้ Innocenti ยังคงติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทของเขาอยู่เสมอ และสร้างสายสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างสมดุลระหว่าง เยอรมัน RSI CLN และกลุ่มพลังประชาธิปไตย เขายังได้ให้เงินอุดหนุนแก่กองกำลังใต้ดินของอิตาลีด ้วย นายพล Poletti ชื่นชมในความเฉลียวฉลาดในการประสานผลประโยชน์ของเขาม าก และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาไม่ได้ถูกกวาดล้างโ ดยกองกำลัง ฝ่ายสัมพันธมิตร จาก Rome เขาสามารถมองเห็นความรุ่งเรืองของ วงการอุตสาหกรรมครั้งใหม่ภายหลังสงครามยุติ และนี่คือความหวังของเขาที่จะรักษาโรงงานต่าง ๆ ของเขาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเริ่มสายการผลิตใหม่ และหากจะมีโรงงานบางแห่งที่ถูกโจมตีจากกองกำลังพันธม ิตร ก็คงเป็นส่วนที่ไม่มีความสำคัญมากนัก การชะลอการผลิตในช่วงนี้กลับเป็นผลดี เพราะสามารถนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาใช้เป็นค่าก่อสร้างโรงงานใหม่ได้ หลังสงครามสงบ Innocenti ได้เดินทางกลับ Milan และภายหลังการประชุมกับพวกคนงานจนประสบความสำเร็จ เขาก็เริ่มแผนงานใหม่ของเขาทันที แผนงานใหม่นี้มีทั้งสิ้น 3 ระดับ คือ 
1. ผลิตยานยนต์ราคาต่ำเพื่อผู้ใช้แรงงาน 
2. สร้างเครื่องจักรกลโลหะ และก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม 
3. พัฒนากระบวนการ sintering 

ยานยนต์ที่สร้างขึ้นคือ Lambretta ซึ่งเขาได้ความคิดมาจากยานยนต์ที่ทิ้งลงมาจากร่มชูชี พของกองทัพอังกฤษ Innocenti คิดว่ายานยนต์ลักษณะนี้คงได้รับความสนใจภายในประเทศ เพราะประชาชนมีความต้องการยานพาหนะที่สามารถเดินทางไ ด้รวดเร็วขึ้นที่ Guidonia Innocenti ได้มีโอกาสพูดคุยกับพันเอก D’ascanio แต่ ปรากฎว่าความคิดของเขาทั้งสองไม่ตรงกันในเรื่องการออกแบบยานยนต์ ดังกล่าว ต่อมา D’ascanio ได้หันไปร่วมมือกับ 
Piaggio เพื่อทำการผลิต Vespa อย่างไรก็ตาม Innocenti พยายามติดต่อกับนายทหารคนอื่นอีกที่ทำงานอยู่ในศูนย์ วิศวกรรม Guidonia ในที่สุดเขาก็ได้พบกับพันเอก Torre ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น “ บิดาของ Lambretta ” ในส่วนของโครงการหล่อเหล็กนั้น Innocenti ต้องการได้ผลงานของ Calmes แห่ง Apuania เพื่อนำมาผลิตเหล็กท่อไร้ตะเข็บ และในส่วนของ sintered materials เขามีความคิดที่จะผลิตประกับเพลาสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า และ endothermic machinery นี่คือโครงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงโครงสร้างใหม่ 

โดยการเน้นที่คุณภาพและปริมาณของแรงงานในขณะนั้นมีแร งงานที่มีฝีมือในระดับผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้างาน 691 คน แรงงานไร้ฝีมือ 969 คน ซึ่งเป็นผู้หญิงเสีย 729 คน แรงงานเด็ก 146 คน รวมแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 2,767 คน แรงงานทั้งหมดนี้แบ่งเป็นแรงงานที่โรงงาน Lambrate 1,900 คน โรงงาน Guerra III 500 คน โรงงาน Guerra II 367 คน และอีกประมาณ 100 คน ซึ่งทำงานนอกเขตโรงงาน เช่นที่ ATA เป็นต้น ดังนั้น จึงมีนโยบายลดคนงานให้เหลือเพียง 970 คน โดยต้องทำการปลดคนงานออกถึง 2,000 คน ในช่วงปลายปี 1945 การดำเนินงานเป็นไปด้วยความลำบาก มีลูกจ้างประมาณ 100 คนเท่านั้นที่ทำงานที่สำนักงานใน Bezzi 

ถึงแม้จะมีการปลดคนงานออกเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถลดรายจ่ายลงได้ ดังนั้นจึงมีการขายวัตถุดิบออกไปในราคา 42 ล้าน ลีร์ รวมกับเงินอุดหนุนที่ได้จาก Dalmine ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออีก 3 ล้าน ลีร์ แต่บริษัทยังต้องการเงินอีกประมาณ 175 ล้าน ลีร์ ซึ่งเงินส่วนนี้ได้รับการช่วยเหลือจากเยอรมันในรูปขอ งสินเชื่อ ในช่วงต้นปี 1946 บริษัทของ Innocenti มีคนงานทั้งหมด 800 คน รวมกับลูกจ้างอีก 150 คน ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1946 ทางบริษัทได้รับเงินอุดหนุนการลงทุนงวดแรก 300 ล้าน ลีร์ แต่ผลของการขาดแคลนถ่านหินและกระแสไฟฟ้า ทำให้การดำเนินงานหลาย ๆ อย่างต้องชะงักลง และต้องเลิกการผลิต sintering เพราะขาดแคลนเทคโนโลยี เมื่อสิ้นปี 1946 มีการสั่งซื้อเข้ามาบ้าง เช่น Dalmine สั่งซื้อเครื่องจักร 6 เครื่อง ยูโกสลาเวียสั่งซื้อเหล็กม้วน 3,200 ตัน อย่างไรก็ตาม สินค้าเหล่านี้จ่ายเป็นวัตถุดิบและถ่านหินแทน การผลิต scooter ต้องชะลอออกไป เพราะการขาดแคลนพลังงานและวัตถุดิบ ยิ่งไปกว่านั้นการผลิตดังกล่าวก็เป็นของใหม่สำหรับบริษัท Lambretta ชุดแรกจำนวน 25 คัน สร้างเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะนำ Lambretta จำนวน 2 คันพร้อมกับรถแวนอีก 1 คันไปแสดงที่ปารีส 

บริษัทมีกำหนดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในเดือนเมษายน 1948 โครงการหล่ออลูมิเนียมกำลังเริ่มดำเนินงาน ในขณะเดียวกันก็จัดเตรียมอุปกรณ์ในการผลิตเหล็กหล่อ ฐานะการเงินของบริษัทในช่วงนี้อยู่ในขั้นวิกฤต แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนเมษายน เพราะได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก ของ อเมริการเป็นจำนวน 1,000 ล้านดอ์
อนึ่ง แทนที่จะสามารถผลิต Lambretta ได้วันละ 150 คัน แต่ ปรากฎว่าผลิตได้จริงเพียงวันละ 10 คันเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการจัดการที่ผิดพลาดและขาดเงินทุน Calbiani ได้เข้ามาปรับปรุงองค์กรใหม่ และวางแผนที่จะผลิต Lambretta ให้ได้วันละ 25 — 30 คันในเวลาอันสั้น เครื่องหล่อถูกใช้งานอย่างเต็มที่เพื่อผลิตชิ้นส่วต่าง ๆ ขณะเดียวกัน Innocenti ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานที่ Apuania ขึ้นใหม่ ซึ่งเขาจะใช้เป็นสถานที่ผลิตเหล็กท่อ ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากการระดมเงินทุนและการปรับการจ ัดการบริษัทเสียใหม่ สำหรับโรงงาน Lambrate นั้นบริหารงานโดย Lauro ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขา และได้รับการยอมรับมากจากผลงานการทำงานที่ Navalmeccanica และ IRI อย่างไรก็ตาม แผนกผลิตเครื่องยนต์ยังประสบปัญหาอยู่ 


Lauro ถึงกับบ่นว่า “ การผลิต scooter เหมือนกับเป็นการผจญภัยที่นำบริษัทไปสู่หายนะ ” นอกจากนั้น Moro ยังได้แสดงความสงสัยต่อคณะกรรมการบริหารว่า “ เพราะการทำงานที่ผิดพลาดในการผลิต Lambretta ทำให้บริษัทต้องเสียหายอย่างใหญ่หลวง ” เพราะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้ถึง 500 ล้าน ลีร์ จุดประสงค์หลักของโครงการคือ การประเมินความเป็นไปได้ในการเจาะตลาด scooter ด้วยการผลิตสินค้าราคาถูกสำหรับ “ ผู้ใช้แรงงาน ” และด้วยเครื่องยนต์ขนาด 20 แรงม้า 
Lambretta โมเดล M ( รุ่นแรก)หรือ โมเดล A เริ่มผลิตในช่วงปลายปี 1948 และทั้ง ๆ ที่มีศักยภาพที่จะผลิตได้ถึง 80 – 85 คัน / วัน แต่กลับผลิตได้จริงเพียงวันละ 70 คันเท่านั้น ทั้งนี้เพราะตลาดยังไม่ยอมรับเท่าที่ควร ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีถัดมาเริ่มมีการส่งออกไปจำหน่ายในอเมริกาและอาร์เจนตินาจำนวน 20,000 คัน 
พี่หมีว่ามันเหมือนจักรยานมั่กๆ

ในขณะเดียวกันทางบริษัทก็เริ่มทำการออกแบบรุ่นที่สอง (โมเดล 😎 ตามมา 
โดยมีกำหนดจะทำการผลิตจริงในปี 1949 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ของรุ่นก่อนหน้านี้ รถรุ่นที่สองนี้มีลักษณะเหมือนกับรถรุ่นแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการใช้เครื่องยนต์ชนิดเดียวกัน แต่มีการตั้งระบบกันกระเทือนทั้งหน้าและหลังเพิ่มเข้ ามา เปลี่ยนจากเกียร์เท้ามาเป็นเกียร์มือ เปลี่ยนขนาดล้อจาก 7” เป็น 8” พร้อมทั้งมีการพ่นสี เมทัลลิ คด้วย ในช่วงนี้บริษัทได้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นบริษัทที่ทันส มัยและประสิทธิภาพ ประธานบริษัทคือ Ferdinando Innocenti และได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจาก Firamonti และ Fumagalli Lauro ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทั่วไป Guani ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการส่วนกลาง ผู้จัดการฝ่ายบริหารได้แก่ Moro Rey ควบคุมแผนกเครื่องยนต์และวิศวกรรม จนถึงเดือนมิถุนายน 1949 จึงเปลี่ยนมาเป็น Parolari ปลายเดือนตุลาคม 1948 Lambreta โมเดล A 
ผลิตได้ทั้งหมด 9,660 คันและหยุดการผลิตในทันที จากบัญชีค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1949 พบว่าบริษัทของเขาขาดทุนถึง 800 ล้าน ลีร์ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับ Innocenti เพราะในช่วงสามเดือนแรกของการจำหน่ายโมเดล B ยอดขาดทุนลดเหลือเพียง 200 ล้าน ลีร์เท่านั้น ในระยะนี้การจัดองค์การผลิตเริ่มดีขึ้น และสามารถเพิ่มยอดการผลิตจากวันละ 70 คันเมื่อเดือนมกราคม เป็น 150 คันต่อวัน  ในเดือนกรกฎาคม 

วันที่ 30 มิถุนายน 1949 มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารใหม่คือ Ferdinando Innocenti ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Lauro รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โดยมีที่ปรึกษาคือ Luigi Innocenti ( ลูกชาย Ferdinando ) และ Pestalozzi 
ในเดือนมกราคม 1959 Lambretta ได้ทำการผลิตรถรุ่นปรับปรุงใหม่อีกสองรุ่น ( 125 C และ 125 LC) 

โดยวางแผนการผลิตไว้ 60,000 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีกลายถึงสองเท่า การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้หมายรวมถึงการก่อสร้างโรงงานเ คลือบสี และการผลิตอุปกรณ์ทันสมัยต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเกียร์และแม่พิมพ์ชิ้นส่วนอลูมิเนียมต่าง ๆ การผลิตรถรุ่นใหม่เริ่มดำเนินการก่อนการวางสายการผลิ ตจะสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะสินค้า หมดสต๊อค ในเดือนพฤษภาคมเดือนเดียวสามารถผลิตได้ถึง 5,500 คัน ในเดือนกรกฎาคมสามารถผลิตได้ถึงวันละ 260 คัน คิดเป็น 6,200 คันต่อเดือน ในปี 1951 ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 คันต่อเดือน จากการที่ยอดขายสินค้าดีเกินกว่าที่คาดหวังไว้ ดังนั้น ในปี 1952 Innocenti จึงตัดสินใจที่จะเพิ่มยอดผลิตให้ได้เดือนละ 8,000 คัน ในเดือนธันวาคม 1951 รถรุ่นใหม่อีกสองรุ่นก็พร้อมออกวางจำหน่าย นั่นคือรุ่น D 
และ Dl รถโมเดล D จะมีราคาถูก ส่วนโมเดล Dl ราคาปานกลางแต่ดูดีกว่า

ในช่วงเดียวกัน NSU เยอรมันได้ขอซื้อสิทธิ์ในการผลิต ( 1950) เช่นเดียวกับในฝรั่งเศสที่มีโครงการจะผลิตให้ได้ 13,000 คัน อย่างไรก็ตาม Innocenti ก็ยังได้รับส่วนแบ่งอย่างงามจากบริษัทเหล่านี้ ในส่วนของโมเดล D สามารถผลิตได้เดือนละ 8,000 คัน ในปี 1952 ยอดการผลิตรวมทั้งหมดคือ 96,000 คัน ในจำนวนนี้ทำการส่งออก 16,000 คัน จากยอดการผลิตจำนวนมากเช่นนี้ จึงไม่สามารถวางจำหน่ายในตลาดภายในประเทศได้หมด ยิ่งไปกว่านั้น การบุกตลาดนอกประเทศก็ได้รับการต่อต้านพอสมควร ดังนั้นในปี 1953 Innocenti จึงตัดสินใจผลิตสินค้าราคาถูกขึ้นมา ซึ่งก็ได้แก่ scooter โมเดล E โดยตั้งเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 70,000 – 80,000 คัน ส่วนโมเดล LD นั้นตั้งเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 40,000 – 50,000 คันเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อรักษายอดขายให้อยู่ในระดับเท่าเดิม ทว่าปริมาณความต้องการกลับน้อยกว่าระดับที่ประมาณการ ณ์ไว้ ถึงแม้ยอดรายได้จะเพิ่มขึ้นถึง 11% เมื่อเทียบกับปี 1952 อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันได้มีการผลิตรถแวนตัวอย่างออกมา 1,063 คัน และเพิ่มเป็น 4,780 คันในปีถัดมา โดยมียอดการส่งออกคิดเป็น 25% ของยอดผลิตทั้งหมด 

ในปี 1955 บริษัทของ Innocenti ได้รับงานขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นั่นคืองานก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ในเวเนซุเอลา ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างถึง 350 ล้านดอลลาร์ ในการนี้ Fiat ก็ได้เข้าร่วมการประมูลด้วย และต่อมาทั้งสองบริษัทก็ได้ร่วมงานกัน โรงงานดังกล่าวเริ่มก่อสร้างในปี 1956 แต่ต่อมา Fiat ขอถอนตัว Innocenti ได้รับเงินในครั้งนี้ประมาณ 40,000 ล้าน ลีร์ แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างในระยะแรกกับรัฐบาลของ Jaminez แต่การก่อสร้างก็เสร็จสมบูรณ์

การผลิต scooter ในปี 1955 ประสบผลสำเร็จพอสมควร แม้จะไม่ดีเท่ากับปี 1953 ก็ตาม ในช่วงต้นปี 1955 Innocenti ได้ริเริ่มทำการผลิตมอเตอร์ ไซต์ขนาด 48 cc. สองจังหวะออกจำหน่าย ( Lambrettino 48) โดยมียอดผลิตทั้งสิ้น 6,000 คัน และเพิ่มเป็น 20,000 คันในปี 1956 ในปีนี้ยอดการผลิตรวม (ทั้ง scooter และมอเตอร์ ไซต์) เพิ่มขึ้น 20% ในช่วงระหว่างปี 1958 — 1963 วงการอุตสาหกรรมในอิตาลีรุ่งเรืองมาก ในปี 1961 ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 97% เมื่อเทียบกับปี 1953 ในสภาวการณ์เช่นนี้ Innocenti ก็ทำการเพิ่มยอดการผลิตของบริษัทของเขาเช่นกัน โดยเขาได้เริ่มผลิตรถยนต์เป็นจำนวน 100 คันในปี 1957 ขยับเพิ่มเป็น 103.5 คัน ในปี 1958 ในปี 1959 ผลิตได้ 120 คัน และเพิ่มเป็น 148 คันในปี 1960 

ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องกลหนัก ในปี 1950 สามารถผลิตได้ 2,800 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 21,550 ตันในปี 1960 ผลกำไรเมื่อสิ้นปี 1960 สูงถึง 59% เมื่อเทียบกับปี 1950 ทุนสำรองเพิ่มขึ้นถึง 2,000% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจในเวเนซุเอลา Luigi ลูกชายของเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานบริษั ทในปี 1958 ซึ่งได้ทำให้ความฝันของเขากลายเป็นจริง นั่นคือความฝันในการผลิตรถยนต์ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนม หาศาล อันเป็นผลมาจากการผลิตในช่วงที่ผ่านมา

ในปี 1957 Torre ได้รับการขอร้องให้ออกแบบรถยนต์ขนาดเล็ก แต่ Parolari ได้ระงับโครงการนี้ไว้ เพราะเขาต้องการที่จะเป็นผู้นำในวงการยานยนต์แต่เพีย งผู้เดียว ในช่วงระหว่างปี 1957 – 1958 Torre ก็ได้ออกแบบรถอเนกประสงค์ต้นแบบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถผลิตได้ในโรงงานของ Innocenti แต่โครงการดังกล่าวก็ต้องถูกยกเลิกไปในปีถัดมา ถึงแม้จะมีการตกลงกันไว้แล้วกับ Gogomobil Iseria ในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น Innocenti เองก็ไม่ต้องการที่จะแข่งขันกับ Fiat ด้วย ในปี 1959 บริษัท BMC แห่ง Birmingham ได้ทำสัญญากับ Innocenti ที่จะผลิต Austin A40 ออกมา


ข้อตกลงดังกล่าวนั้นรวมถึงการประกอบและเคลือบสีชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ผลิตโดย BMC การเจรจาใช้เวลาถึง 7 เดือนกว่าจะประสบผลสำเร็จ สายงานการผลิต A40 สำเร็จเรียบร้อยภายในเวลาปีเศษ จนถึงปลายปี 1960 จึงเริ่มทำการผลิตได้วันละ 100 คัน ในระหว่างปี 1961 — 1962 แผนกขึ้นรูปก็พร้อมสำหรับการผลิต A40 ยอดผลิตในปี 1962 มีทั้งสิ้น 20,900 คัน และเพิ่มเป็น 30,600 คันในปี 1963 เพราะมีการผลิตโมเดล IM3 เพิ่มเข้ามา Fernandino Innocenti Luigi เสียชีวิตในปี 1966 ขณะที่มีอายุได้ 85 ปี Luigi ลูกชายของเขาเป็นผู้รับมรดกที่เขาทิ้งไว้ และก้าวขึ้นเป็นประธานบริษัทคนต่อมา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *


*