Category Archive : Scooter

16 เดือน บน Lambretta TV175 Serie2 จากประเทศไทย ไป อิตาลี กับ อาจารย์ อินสนธิ์ วงศ์สาม

วันนี้พี่หมีพามาเล่าประวัติ อ.อินสนธิ์ วงศ์สาม กันนะครับ

16 เดือน บน Lambretta TV175 Serie2 จากประเทศไทย – อิตาลี กับ อาจารย์ อินสนธิ์ วงศ์สาม [ศิลปินแห่งชาติ สาขาสาขาทัศนศิลป์ ปี พ.ศ. 2542] เรื่องราวของคนตามฝัน กับรถ Lambretta บนเส้นทางอันแสนยาวไกลเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว

ชีวิตวัยเด็กของผมไม่ต่างจากเด็กต่างจังหวัดทั่วไป พ่อ ผมเป็นผู้จุดประกายความเป็นศิลปินให้ตั้งแต่วัยเยาว์ จะเรียกว่าท่านเป็นศิลปินท้องถิ่นใน อ.ป่าซาง จ. ลำพูน ก็ว่าได้ ท่านรักวานด้านหัตกรรม งานที่คุ้นตาของผมเป็นงานออกแบบเครื่องเงินแบบท้องถิ ่น และยังชอบเรื่องโหราศาสตร์ ท่านเคยให้ผมวาดภาพ 12 นักษัตรที่ใช้ประกอบภาพร่างในปฏทินเกี่ยวกับการพยากร ณ์ ผมมีโอกาสได้ช่วยงานด้านหัตกรรมเกี่ยวกับ ประติมากรรม งานไม้ แกะสลัก และเครื่องเซรามิค หลังจากที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย ผมอยากเรียนต่อทางด้านศิลปะ แต่กลับไม่มีแนวทาง กระทั่งวันหนึ่งพบกับรุ่นพี่ที่ชื่อ ทวี เขาศึกษาที่ศิลปกรในกรุงเทพฯ เขาแนะให้ผมเข้ากรุงเทพฯ เรียนที่โรงเรียนเตรียมศิลป์ ก่อนที่จะเข้าศิลปกรต่อไป

ผมไม่รู้จักกรุงเทพฯ ตอนนั้นอายุ 18 ปี [2497] ผมเห็นอนาคตในกรุงเทพฯ และตั้งใจที่จะเป็นศิลปินอย่างที่ต้องการผมเข้าเรียน ที่โรงเรียนศิลปะศึกษา [เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร] และโชคดีที่ได้เรียนกับท่าน อาจารย์ศิลป์ พีระศรี [นามเดิม ซี. เฟโรจี ชาวอิตาเลียน/ 2436-2505] ผมเริ่มที่จะเข้ามารับรู้ถึงงานศิลปะอย่างจริงจังและ หล่อหลอมให้ผมมีความชอบที่ไม่อาจถอนได้แล้ว หลังจากนั้น 2 ปี ผมเข้าเรียนที่ศิลปากร และมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรีตลอด 5 ปีเต็ม ผมเรียนในสาขา จิตรกรรมและประติมากรรม

2504 หลังจากจบการศึกษา ผมได้รับเงิน 800 บาท ที่ได้จาก Bangkok Art Center ผมใช้เงินเพื่อเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และสร้างสรรค์งานศิลปะตามท ี่ต่างๆได้เรียนรู้ถึงวิถีทางการดำเนินชีวิตในแง่ต่า งๆ

หลังจากนั้นก็เกิดความคิดขึ้นมาในหัวว่าอยากที่จะเดิ นทางรอบโลก ผมอยากไปที่ฟลอเรน อิตาลี สถานที่เกิดท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี แต่ไม่รู้ว่าจะเดินทางอย่างไรดี ผมเจอกับสุพัฒน์ การะศิลป์ เขาทำงานที่ ททท. ในงานแสดงศิลปะเราพูดถึงการเดินทางรอบโลก เขาอยากไปกับผมแต่เราไม่มีเงิน เขามีรถแต่ทว่าก็เก่ากลัวว่าจะไปไม่รอด อยากใช้รถใหม่แต่ก็ราคาสูงมาก สุดท้ายหลังได้รับการแนะนำจาก อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เราตกลงจะใช้รถ Scooter เราจึงทำโครงการเสนอที่ Berlie Jucker Company [ดีลเลอร์ของ Lambretta]

เพื่อขอการสนับสนุนซึ่งผู้จัดการเขาเป็นเพื่อนกันกับ ท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี เราบอกเขาว่าจะเดินทางไปอิตาลีโดยใช้ระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้น เขาก็ให้รถ Lambretta TV175 Serie II เรามา 1 คัน แต่เราต้องการใช้รถ 2 คัน เลยต้องซื้อเพิ่มอีก 1 คัน แต่ก็ยังดีที่ซื้อได้ครึ่งราคา เราไม่มีความรู้ทางช่างก็ต้องให้แมคานิคที่นี่สอนเกี ่ยวกับการซ่อมบำรุงเอาชนิดที่เป็นเร็วๆและแนวทางที่ง ่ายที่สุดหลังจากได้รถอย่างที่ต้องการก็ถึงคราวต้องห าค่าใช้จ่าย เราได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย[ททท.] และเพื่อนๆที่ศิลปากรที่อยากให้เราสร้างฝันให้สำเร็จ ทั้งสิ้น 30000 บาท และจาก Esso อีก 8000 บาท แล้วเราก็พร้อมเดินทาง

เราทำการดัดแปลงรถ Scooter นั้นเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการเดินทาง มันจะเป็นเสมือนบ้านให้เราตลอดเส้นทาง อุปกรณ์ทำอาหารง่ายๆ ถุงนอน และเสื้อผ้าอีกไม่กี่ตัว ถูกติดตั้งที่ด้านหน้า-หลัง ส่วนด้านข้างนั้นเป็นที่เก็บงานศิลป์ที่พับม้วนกว่า 200 ภาพในกล่องเก็บข้างละ 6 กล่องและอุปกรณ์วาดภาพที่ถูกแพ็คกันน้ำอย่างดีในกระเ ปาหนัง และอุปกรณ์ซ่อมบำรุงอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะหัวเทียน 2505 หลังจากการเสียชีวิตของท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ระหว่างพิธีศพผมบอกกับท่านว่าผมจะเดินทางไปบ้านท่านแ ละจะสร้างฝันนั้นให้เป็นจริง หลังจากนั้น 1 อาทิตยื ผมก็ออกเดินทางจากประตูน้ำ การผจญภัยชองผมเริ่มขึ้นแล้ว!!!

เราออกจากกรุงเทพฯ มุ่งลงใต้ จนสิ้นสุดการเดินทางถนนเรียบๆที่ปีนัง เรามาช้าไปเพียงอึดใจ เรือออกไปแล้ว ต้องรอเรื่อข้ามฟากเที่ยวหน้าถึง 1 เดือน เราไม่มีทางเลือก เราต้องรอ มันเป็นความหน้าตื่นตาครั้งแรกในต่างแดน เรารู้ว่ามันสนุกมากและก็ใช้เงินหมดไปอย่างไม่มีแบบแ ผน เราเป็นกังวลอีกครั้งจนคิดว่าจะกลับบ้าน ทว่าก็นึกถึงเพื่อนๆ ครอบครัว ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่ฝากความหวัง เราจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้เดินทางต่อไป เราสร้างงานและก็ขายงานได้บ้างพอที่จะมีเงินเพื่อใช้ เดินทางต่อ … ในที่สุดเรือก็มา เราเดินทางขึ้นฝั่งที่ Calcata อินเดีย ในเดือนมิถุนายน 2505 มันน่าตื่นตาอีกครั้ง จำได้ว่าผมขับรถ Scooter ทั้งวันกระทั่งค่ำเพื่อชมสถานที่ก่อสร้างที่สวยงามทั ่วเมืองก่อนเข้าพักที่โบสถ์ฮินด ู

เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเราใช้เวลาอยู่ใน Calcata อีก 2-3 วันก็เกิดจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ สุพัฒน์ต้องการกลับบ้าน เขาไม่สนุกกับการเดินทางแล้ว เขาบอกบางทีเขาอาจคิดถึงลูกเล็กๆทั้ง 2 คนที่อยู่กรุงเทพฯ เขาล้มเลิกความฝัน และขาย Scooter พร้อมกับบินกลับกรุงเทพฯ ปล่อยให้การเดินทางเป็นของผมแต่เพียงลำพัง ผมเสียใจมากแต่ก็มุ่งหน้าทำความฝันให้สำเร็จผมขับ Scooter มุ่งหน้าสู่ Delhi อย่างสันโดษ ที่นี่ ผมมีโอกาสพบปะสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเจอ เนื่องจากไม่มีเงิน จึงต้องอาศัยพักตามสถานที่ต่างๆ วัด โบสถ์ฮินดู สถานที่แสดงงานศิลป์ สถานทูตไทย ที่นี่ ผมเริ่มได้เพื่อน ได้ที่พัก ได้อาหาร ผมเริ่มรู้สึกว่าตอนนี้ไม่ได้อยู่อย่างโดษเดียวลำพัง อีกแล้ว

อินเดีย เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีขนบธรรมเนียมที่ดีงามเราเคยรับรู้ผ่านทางตัวหนังสื อเท่านั้น ผมมีโอกาสจริงได้เจอที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่เรีย กว่า Bodh-Gaya ผมใช้เวลาในอินเดียถึง 2 เดือน ผมรักที่นี่ จนทำใจได้ยากที่จะจากไป ผมมุ่งหน้าขึ้นเหนือสู่ Lahore มันเป็นประสบการณ์ใหม่ ในดินแดนของมุสลิม แต่ผมไม่มีเงิน ผมต้องขายงานที่สร้างขึ้นในอินเดียบางส่วน ผมโชคดี งานผมขายได้ผมมีทุนรอนที่จะเดินหน้าต่อไป ระหว่างเส้นทาง ผมอยากที่จะเปิดแสดงงานไปด้วย บางที่ก็ได้รับการตอบสนอง บางที่ก็ต้องแสดงกันข้างๆรถนี่ล่ะ บ้างก็ได้รับความสนใจ บ้างก็ต้องผิดหวัง แต่ก็ไม่สิ้นหนทางเสียทีเดียว ในเดือนตุลาของปี 2505 ผมมีโอกาสได้แสดงงานใน Karachi หลังจากได้รับการประสานงานจากเพื่อนใน Lahore ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ ที่ Karachi ผมได้เจอ ปรีชา บางน้อย เพื่อนรุ่นพี่ที่ศิลปากร เขาฝากฝังผมผ่านจดหมายไปให้เพื่อนของเขาในสถานที่ต่า งๆ

ก่อนมุ่งหน้าเข้าสู่ดินแดนตะวันออกกลางนามTeheran ประเทศอิหร่าน ในเดือนธันวาคม 2505 อากาศในทะเลทรายแปรปรวนมากระหว่างกลางวัน-กลางคืน มันเหมือนอยู่กันคนละโลก อย่างไรเสียมันเป็นสภาวะที่ผมต้องเผชิญและต้องผ่านมั นให้ได้ด้วย ในTeheran ผมไม่มีเงินเลย ต้องขอความช่วยเหลือจากองค์การ UNISCO และได้รับการช่วยเหลือโดยเข้าทำงานที่การท่องเที่ยวข องอิหร่าน ผมได้รับงานออกแบบโปสเตอร์โปรโมตการท่องเที่ยว ผมเสนองานด้วยภาพพิมพ์ขนาดใหญ่ ซึ่งเขาเองก็พอใจมากอยากให้ผมนำเสนองานรูปแบบอื่นๆอี กหากต้องการ

แต่ผมก็ต้องปฏิเสธเพราะยังคงรักษาคำมั่นที่จะต้องเดิ นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผมกับปรีชาได้แสดงงานในแกลเลอรี่ใน Teharan กับเพื่อนอีก 2-3 คน งานของเราขายได้เริ่มมีคนรู้จัก เราเริ่มที่จะมีเงินใช้สอย แต่สุดท้ายก็ต้องตัดสินใจแยกทาง ปรีชามุ่งหน้าด้วยรถไฟสู่เยอรมันนี ส่วนผมกับ Scooter คู่ใจต้องมุ่งหน้าสู่ Istanbul ประเทศตุรกี

ที่ตุรกี ผมเลือกที่จะเดินทางในเวลากลางคืนเนื่องจากสภาพอากาศ ไม่ร้อนอบอ้าวและ ผมก็จะพบกับเมืองใหม่ๆในเช้าของทุกวันผมไม่รู้จักเส้ นทางดีมากนักจึงอาศัยวิ่งตามเส้นทางของพวกรถบรรทุก ที่นี่ภาวะเดิมๆนั้นกลับมารุมเร้าอีกเช่นเคย ผมไม่มีเงิน ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ผมหิวแต่กลับไม่มีอาหารอะไรเหลืออยู่เลย ผมโชคดีได้เจอกับสาวตุรกีคนหนึ่ง เธอสนใจงานผมเธอไม่ได้ซื้องานผม เธอพาผมไปกินอาหารที่ร้านเพื่อนของเธอ เธอยังเชื่อมั่นในงแนวทางที่ผมทำ ซ้ำยังประสานงานให้ผมได้แสดงงานในเมือง เรายุติความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน ณ. ตรงนั้น ก่อนจะพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่…แต่กลับรักษามันได้เพียง 2 เดือน จากเหตุผลที่พันธนาการต่อการเดินทางที่ยังไม่สิ้นสุด

ผมถือใบขับขี่สากล กับหนังสือรับรองพร้อมใบผ่านแดนที่ออกให้จากกรมตำรวจ และราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทย [ร.ย.ส.ท.] ผมและ Scooter คู่ชีพจะเดินทางไปที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ แต่บางที่กลับไม่ได้รับความสะดวกเนื่องจากเขาเองก็ไม ่เชื่อว่าผมกับ Scooter คันนี้จะเดินทางได้จริงๆ มันเป็นไปไม่ได้ ต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียด อย่างในตรุกีที่เส้นทางเต็มไปด้วยหิมะ ผมต้องรอใบผ่านแดนนานมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาไม่เชื่อว่าผมจะเดินทางข้ามทวีปจากเอเชียมายุโรปไ ด้ด้วย Scooter คันเล็กๆนี้ แต่สุดท้ายก็ต้องยอมหลังจากหลายฝ่ายต่างให้ข้อมูลสนั บสนุน

สวรรค์ทรงโปรดอีกครั้งหลังจากเดินทางมาถึงกลางตุรกี ผมได้รับเงินจาก Esso อีก 200 $ งานผมที่กรุงเทพฯขายได้ ผมมุ่งหน้าสู่ Athen ประเทศกรีซ ประเทศนี้สวยมาก อากาศดี น้ำทะเลสีฟ้า ผู้คนก็ดูเป็นมิตร ผมหลงรักกรีซเข้าอีกแล้ว ผมขับ Scooter ชมความงาม ทั้งวัน ทั้งคืนและก็วาดภาพจากสถานที่แห่งนี้มากด้วย ผมอยู่ที่นี่ 2 เดือน ก่อนที่จะได้มีโอกาสแสดงงานอีกครั้ง ที่งานแสดงผมพบเพื่อนศิลปินชาวนิวยอร์กที่ชื่อ Alexander ซึ่งอยู่ระหว่างการท่องเที่ยวหลังจบการศึกษา

เขาสนใจงานผมและต้องการที่จะได้เป็นเจ้าของ เขาไม่มีเงิน แต่ผมก็ขายให้ไปในราคาที่ถูกมากๆ และก็ให้ผ่อนเป็นรายเดือนอีกด้วยเราสนทนากันถูกคอมาก เราแลกเปลี่ยนทรรศนะด้านงานศิลป์ เราตัดสินใจร่วมทริปกันสู่เกาะ Corfu ทางตอนใต้ของกรีซ เรามีช่วงเวลาที่ดีซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็ปาเข้าไป เดือนที่ 6 ผมใช้ชีวิตแบบชาวประมง มันเป็นวัตถุดิบอย่างดีในการสร้างงานศิลป์ ผมยังจำ กลิ่นอายของคาวปลาและวิธีทางที่เรียบง่าย สงบนิ่งมันเป็นแบบอย่างที่เราไม่เคยเจอ ที่นี่เปรียบเสมือนบ้านอีกหลังที่เปี่ยมไปด้วยความสุ ขใจ

Lambretta คันเล็กๆของผมมันก็สุดยอดเราร่วมเดินทางกันมาตั้งแต่ ต้นจนจบ ไม่มีเกเรให้ต้องรำคาญใจ มีเฉพาะการแก้ไขเล็กๆน้อยๆที่พอรับมือ ครั้งหนึ่งผมนำ Scooter เข้าเช็คเข้าเช็คเครื่องยนต์ในอู่เล็กๆแห่งหนึ่งผมบอ กไม่มีเงินให้เขาหรอก เขากลับบอกว่า เขาก็ไม่ต้องการเงินเช่นกัน ผมจึงให้งานศิลป์ของผมแทน มันเป็นความทรงจำที่ดี แถมยังได้อาหาร ที่พักและการสอนภาษาให้อีกด้วย ผมนำ Scooter ลงเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากจากCorfu

มุ่งหน้าBrindisi เมืองท่าสำคัญของอิตาลี ผม..มาถึงแผ่นดินเกิดของท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรีแล้ว ฝันของผมเป็นจริง!! ผมมุ่งหน้าเข้า Romeในเดือนสิงหาคม 2506 ซึ่งมันตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก ที่นี่ผมพบดำรงค์ เพื่อนคนไทยที่อยู่ที่นี่มานานพอควร เราตัดสินใจร่วมทริปกันด้วย Scooter ของผม เราเดินทางไปยังบ้านเกิดของท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ Geovenni ใกล้ๆกับ Florence เราถึงบ้านท่านอาจารย์ในเช้าตรู่

ทว่ากลับไม่มีใครอยู่ที่บ้านเรานั่งรอที่บ้านกว่าชั่ วโมงในใจก็ละลึกถึงท่าน บอกท่านว่า ผม พบบ้านท่านแล้ว ที่ Florence ผมตั้งใจจะแสดงงานศิลป์เพื่อบอกเล่าให้ผู้คนรับรู้ว่ า ผมเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกจิศิลปินที่เกิดที่เมืองนี้ ฝันผมเป็นจริง ผมและดำรงค์ได้แสดงงานใน Numero Galley ใน Florence เรากลับในเดือน พฤศจิกายน 2506 ดำรงค์ต้องการอยู่ต่อ เขาอยากที่จะหาที่เรียนศิลปะที่นี่ส่วนผมที่ยังไม่อยากเรียนกลับเกิดแนวคิดใหม่ฝันผมไปไกลถึงยุโรปแล้ว

ผมต้องการเดินทางต่อจึงพา Scooter คู่ชีพเข้ารับการช่วยเหลือที่โรงงานแม่ของ Lambretta ในโรม หวังจะให้เขาเปลี่ยนเครื่องยนต์ให้ใหม่ เพราะอาการเสียงดังที่เครื่องยนต์มันน่าวิตกซึ่งผมคิ ดว่ากว่า 20000 กิโลเมตร เครื่องยนต์มันคงไปไม่ไหวแล้ว ผมได้รับการปฏิเสธ จึงจำใจละทิ้งเจ้า Scooter คู่ชีพ ไว้ที่สถานทูตไทยในโรม เป็นการปิดฉากการเดินทางนานถึง 16 เดือนบนอานรถ Scooter อย่างเป็นทางการ ผม มุ่งหน้าโดยรถไปสู่ Vienna ประเทศฝรั่งเศสใช้ชีวิตเฉกเช่นศิลปินอิสระ ที่หวังเพียงสร้างงานศิลป์ควบคู่กับการดำรงชีวิตในดิ นแดนหลากอารยะธรรม

12 ปีในต่างแดน ตัดสินใจกลับลำพูนในปี 2517 ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายสร้างสรรคืงานศิลป์และร่วมกิจ กรรมเพื่อท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง และได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติส าขาทัศศิลป์[ประติมากรรม] ประจำปี 2542 นอกเหนือจากนั้นท่านอาจารย์อินสนธิ์และภรรยา ได้ร่วมกันก่อตั้ง มูลนิธิอุทยานธรรมะและหอศิลป์ จ.ลำพูน[องค์กรร่วมอย่างเป็นทางการของโครงการวัฒนธรรมเพื่อสั นติศึกษาของยูเนสโก้] เพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้คนได้พบปะและแลกเปลี่ยนประสบก ารณ์ พัฒนาจิตสำนึกที่ดีเพื่อท้องถิ่นในรูปแบบของการสร้าง สรรค์เชิงอนุรักษ์

ผมเคยกลับมาตามหา Scooter ที่อิตาลีถึง 2 ครั้ง ที่สถานทูตเองก็ไม้มีใครทราบเรื่อง น่าเสียดายที่เพื่อนคันนี้ต้องอันตรธานไปเราคงต้องทิ ้งเวลาให้ล่วงเลยไปนานสถานทูตเองก็มี การบูรณะก่อสร้างสิ่งต่างๆขึ้นใหม่ สำหรับเขา มันก็แค่ซากรถเก่าๆที่ดูเกะกะ สำหรับผม มันมีเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ซึ่งเราทั้งคู่รู้ดี

Credit > http://www.thaiscooter.com/forums/showthread.php?t=40724#.XamVfXdoSUk

อุปกรณ์ตกแต่ง New Lambretta ทั้งหมดของพี่หมี > https://www.kumaridelam.com/shop/

ปะยาง24ชม.

พี่หมีมาบอกพิกัด ร้านปะยาง 24 ชม.ในกทม.

พี่หมีมาแนะนำร้าน ปะยาง 24 ชม ในเขตกทม. กันนะครับ
มีทั้ง ปะรถมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ ใครใกล้ละแวกไหน
ก็ดูเอาไว้ บางร้านมีไปปะนอกสถานที่ด้วยนะครับ
เมมเบอร์เอาไว้ รถเสียตอนไหนจะได้ มีคนคอยช่วยเหลือครับ

ร้านแรก

ร้านยาง 24 ชม

ปะยาง. 80-200
ถ่วงล้อ. 80
สลับยาง. 60
เอายางมาให้ใส่ 60-80
กลับหน้ายาง 60
รับเปลี่ยนยางในมอไซต์
รับรถทุกรุ่น ยกเส้น รถ 6ล้อ ขึ้นไป
จำหน่ายยางใหม่ในราคาถูก
มีบริการปะยางนอกสถานที่
บริการด้วยช่างชำนาญการกว่า20ปี
ร้านเปิดมาเเล้ว 24ปี
ร้านเปิด 24 ชม.
มีช่าง 2 กะครับ
ร้านปิดทุกวันที่ 1เเละ 16 ของเดือน
โทร 02-5673857 092-6874224 098-2809498
สอบถามเส้นทางได้ที่
Line : ness.tnw 098-2809498

ร้านยาง 24 ชม. ตั้งอยู่ที่ 317
ถนนรังสิต-ปทุมธานี ตำบล
ประชาธิปัตย์ อำเภอ
ธัญบุรี จังหวัด ปทุมธานี 12130

Page ร้านยาง 24 ชม

พิกัด Google Map https://goo.gl/maps/GxXefyaVpyseow139


ร้านที่สอง

ร้านช่างแบงค์ เป็นร้านรับซ่อมทุกอย่างเกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์ครับ
รวมไปถึงบริการนอกสถานที่ด้วยครับ ปะยาง 24 ชม.

เป็นร้านเล็กๆทำที่บ้านตัวเอง แต่ทำด้วยใจนะครับ
ส่วนที่ตั้ง อยู่ที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ 22 (วัดอัมพวา)
ซอย คลองเทวดา 2/2
เบอร์ติดต่อ 0910161712, 0979696405
ใครอยุ่ละแวกใกล้เคียง ติดต่อได้เลยครับ
Page https://www.facebook.com/pg/BankServiceBangkok/
พิกัด Google Map https://goo.gl/maps/nGaQ3Bu3BMDYPEwt8


ร้านที่สาม

ร้านวาสนา การยาง ร้านปะยาง24 ชม ชื่อดังย่านปะดิพัทธิ์ Phone : 081 870 8124
Address : ถนน พระรามที่ 6 Samsen Nai, Phaya Thai, Bangkok 10400 .

บริการปะยางตลอด24.ชม จำหน่ายยางเปอร์เซนต์ ทำโดนช่างผู้ชำนาญมาทำกับเราครับ

ที่ตั้ง 149/7ถนนประดิพัทธ์ สามเสนในพญาไท สีแยกประดิพัทธิ์ ปั้มคาลเท็กซ์เก่ากรุงเทพมหานคร

Inbox m.me/Wassanakanyang Page https://www.facebook.com/Wassanakanyang/
พิกัด : 13.792865, 100.538088 พิกัด Google Map https://goo.gl/maps/A9dSCiyfpmgV2PQ67


ร้านที่สี่

ร้านปะยางนอกสถานที่ ช่างเค
ปะยางนอกสถานที่ 24ชม.

ที่ตั้ง 1156 ซอย โยธินพัฒนา11 ลาดพร้าว คลองจั่น บางกะปิกรุงเทพมหานคร


บริการรับปะยาง เปลี่ยนยางนอกสถานที่ Page ปะยางนอกสถานที่ ช่างเค Inbox m.me/700576303670879 โทร 099 526 1260 พิกัด Google Map https://goo.gl/maps/e8cFCFgHLUZcSy6P6


ร้านที่ห้า

ร้านปะยาง 24ชม ช่างกบ เจ้าเก่าปรีดี 36

1169 เชิงสะพานคลองตัน แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร 10250

Page ช่างกบ ร้านปะยาง 24 ชั่วโมง
เบอร์ : 099 902 7937


ที่อยู่ : แขวง สวนหลวง แขวงสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
พิกัด Google Map : https://goo.gl/maps/RKLEyJGyeD42YSJb9


ร้านที่หก

รับปะยางนอกสถานที่24ชั่วโมง ยางรั่ว ยางแตก กรุงเทพและปริมณฑล ปะยางนอกสถานที่ เปลี่ยนยางนอกสถานที่ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ค่าบริการขึ้นอยู่กับระยะทางและสถานที่ โดยช่างผู้ชำนาญงาน และมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี


ที่ตั้ง 88/49 จรเข้บัว ลาดพร้าวกรุงเทพมหานคร Page รับปะยางนอกสถานที่24ชั่วโมง ยางรั่ว ยางแตก กรุงเทพและปริมณฑล Inbox m.me/santikanyang โทร 084 101 3554


ร้านที่เจ็ด

ร้านส.การยาง ปะยางนอกสถานที่24ชั่วโมง

ที่อยู่ : 88/49 เกษตรนวมินทร์ ตอม้อที่ 82 ถ.ประเสริฐมนูกิจ แขวง จรเข้บัว เขตลาดพร้าว กทม.กรุงเทพมหานคร

โทร 084 101 3554 Page ส.การยาง Inbox m.me/sorkanyang

พิกัด Google Map : https://goo.gl/maps/6pE4iQfReGTdnhBT8


ร้านที่แปด

ปะยาง24ชั่วโมง ปะยางนอกสถานที่ ดินแดง ห้วยขวาง รัชดา วิภาวดี และไกล้เคียง

พี่หมีคุยกับพี่เขามาพี่เขาไม่มีร้านครับรับทำงานนอกสถานที่ รับปะยางเปลี่ยนยางอะไล่รถยนต์, จักรยานยนต์,จักรยาน พวงแบตเตอรี่ครับ24ชั่วโมงครับ

โทรหาพี่เขาได้เลยครับ Page ปะยาง24ชั่วโมง ปะยางนอกสถานที่ ดินแดง ห้วยขวาง รัชดา วิภาวดี และไกล้เคียง Inbox m.me/114150253283220 โทร . 0908514943

พิกัด ดินแดง ห้วยขวาง รัชดา วิภาวดี และไกล้เคียง


ร้านที่เก้า

ร้านปะยางนอกสถานที่.com

บริการ ปะยาง ปะยางนอกสถานที่ ปะยาง24ชั่วโมง

Page ปะยางนอกสถานที่.com Inbox m.me/payang24hr โทร 093 156 9241

พิกัด พี่หมีเห็นพี่เขาวิ่งทั่ว กทม เลยครับผม


พี่หมีหาร้านปะยาง 24 ชม. มาให้เพื่อนๆ ได้เมมไว้ ยามฉุกเฉิน หรือเข้ามาอ่านเวลารถยางรั่วดึกดื่นๆ จะได้ไม่เป็นอันตรายนะครับ ด้วยรัก และปราถนาดี จากพี่หมี Page พี่หมีขี่แลมครับ

ล้างรถกับพี่หมี

วันนี้พี่หมีชวนไปล้างรถ พร้อมโปรโมชั่นส่วนลดจ้า

สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากรถเราเจอขี้ฝุ่น ขี้โคลนกันมา
เราก็ถึงเวลาล้างรถกันนะครับ


วันนี้พี่หมี มาแนะนำร้านล้างรถมอเตอร์ไซค์กัน
เพราะพี่หมีเห็นว่า ร้านล้างมอเตอร์ไซค์ดีๆ มันก็หายากเหมือน
ไปร้านล้างรถยนต์บางที่ก็ไม่รับมอเตอร์ไซค์

พี่หมีจึงไปเสาะแสวงหาร้านล้างรถละเเวกต่างๆในกทม. และใกล้เคียง
พร้อมโปรโมชั่น ส่วนลดดีๆ มาแจกเพื่อนๆ ในเพจ พี่หมีขี่แลมกันด้วยครับผม ไปล้างได้ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ รถใครเลอะ รถใครไม่หล่อ ไปล้างกันนะครับ

เริ่มร้านแรกนะครับ

ชื่อร้าน : มาล้างรถ
พิกัด : รัชดาภิเษก 32 ( https://goo.gl/maps/GebCdVPuYcx9rzTY9 )
เพจเฟซบุ๊ค : มาล้างรถ (http://facebook.com/marcarwash)
วันเวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 09:00 – 19:00 น.

เบอร์โทร : 085-3217563

รายละเอียดราคาล้างมอเตอร์ไซค์
100 บาท หากเป็นบิ๊กไบค์ 140 บาท
พี่เจ้าของใจดีมอบส่วนลด : 10% เพียงบอกว่ามาเพจพี่หมีขี่แลม
ใช้ได้ถึงสิ้นปี 2562 เลยครับผม


ร้านที่สอง

ร้านU-turn shop เป็นร้านซ่อม&service
รถทุกประเภทโดยเน้นที่รถBigbike
นอกจากนั้นยังมีส่วนของบริการล้างรถและเคลือบแก้วไปจนถึงงานสปาชุดแข่ง
หมวกกันน็อค เสื้อหนัง เคลือบแก้วเราให้บริการทุกประเภท
รถมอเตอร์ไซค์ จักรยาน หมวกกันน็อค รถยนต์ เรามีทั้งหมด3เพจ
U-turn shop เพจซ่อมและเซอวิส
U-turn bike wash&glass coating เพจล้างมอเตอไซค์และเคลือบแก้วอุปกรณ์มอเตอไซค์
U-turn car detailing เพจบริการเคลือบแก้วรถยนต์และงานดีเทลลิ่งในส่วนของรถยนต์

ที่ตั้ง แถวเรียบทางด่วนรามอินทราเอกมัย
โทร 098-2480130 083-8245008
Line:@uturnshop มี@นะครับ

Page https://www.facebook.com/uturnbikewash/

ล้างรถมอเตอร์ไซค์ เริ่มต้น 150 บาท

ล้างรถนี่รถเล็กทั่วไป 150บาท
รถสปอร์ต 150CC มีโซ่ 250บาท
Big scooter 300
Bigbike 350 
ทุกราคารวมล้างโซ่และเคลือบสีครับ

เพียงบอกว่ามาจากเพจพี่หมีขี่แลม พี่เจ้าของร้านใจดีให้ส่วนลด 50 บาท
ตั้งแต่วันนี้ ถึง สิ้นเดือน ตุลาคม 2562 ครับ


ร้านที่สาม

ร้าน Sumo Bike Wash สาขาวงศ์สว่าง
ร้านเปิดให้บริการ 10.00-20.00 น. หยุดวันจันทร์ครับ

Page https://www.facebook.com/pg/sumowongsawang

เบอร์โทร
0886245598

ราคาล้างเคลือบสี Scooter 250 บาทครับ
แผนที่ร้าน
https://goo.gl/maps/u1dEjifPt3D2

แจกส่วนลดให้เพื่อนๆ แจ้งว่ามาจากพี่หมีขี่แลม ให้เป็นคูปองเงินสด
1.ลดค่าบริการขัด Burashi ขจัดคราบไคลสีหมอง ปกติราคา 1,500 ให้ลดเพิ่ม 200 บาท 5 ใบ เหลือ 1,300
2.โปรแกรมเคลือบเซรามิกแถมฟรีวปากมวกกันน็อคมูลค่า 200 บาท 5 ใบ


เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 62 ครับ


ร้านที่สี่

ร้านล้างรถ เคลือบสี 4DWASH โชคชัย 4 – เสนาฯ : สะอาดลึกทุกมิติ
ศูนย์ล้าง เคลือบสี ขัดสี ซักเบาะ ซักพรม ด้วยเครื่องมือนำเข้าจากอิตาลี ขัด-เคลือบไฟหน้า แก้ไขไฟหน้าหมอง-เหลือง ให้กลับมาสดใสอีกครั้ง ล้างแอร์-อบโอโซน และ บริการประกันภัยรถยนต์มากกว่า 30 บริษัทชั้นนำครบวงจรแบบมาตรฐาน ดูแลรถยนต์ด้วยผลิตภัณฑ์ระดับสูง และนำเข้าจาก USA

ที่ตั้ง ปั้ม Susco 27/1 ซอย พหลโยธิน 32 ถนน เสนานิคม 1, แขวง เสนานิคม เขต จตุจักร
กรุงเทพมหานคร
m.me/4DWASH
โทร 095 838 9779

Page https://www.facebook.com/4DWASH

ราคามี 3 size ครับ 99  119  139(big bike)
ราคานี้ล้างเคลือบสี ด้วยน้ำยา Blocoli made in USA

พี่เจ้าของร้านใจดี ลดค่าล้าง New Lambretta  จาก 119  บาทเหลือ 99 บาทครับ รุ่นอื่นๆติดต่อสอบถามพี่เจ้าของร้านเลยครับ
เพียงบอกว่ามาจากเพจ พี่หมีขี่แลม ครับผม


ร้านที่ห้า

ร้าน First Bike Wash อยู่รัชดาซอย7(ซอยนาทอง) เข้ามาเกือบสุดซอย
ร้านอยู่ขวามือตรงหน้าแฟลต34ครับ
เปิด 9.30 – 19.30 น.ทุกวันครับ
Page > http://wow.in.th/qORF
โทร 084 469 1001
เริ่มต้นที่ 99 บาท
เพียงบอกว่ามาจากเพจพี่หมีขี่แลม พี่เจ้าของร้านใจดีให้ส่วนลด 10%ครับ
ตั้งแต่วันนี้ ถึง สิ้นเดือน ธันวาคม 2562 เลยครับ


ร้านที่หก

ชื่อร้าน Super Jack Car wash
Page  http://wow.in.th/DV6i
ร้านตั้งอยู่เจริญกรุง 91 ( เอเชียทีค )
ร้านเปิด 11.00-21.00 ครับ
มีส่วนลดสำหรับ เพื่อนๆในเพจพี่หมีขี่แลม

เพียงบอกว่า
มาจากเพจพี่หมีขี่แลม  ทางร้านจะลดราคาให้เลยที่
   50-150 CC ลดให้ 30 บาท
  150-1000 CC ส่วนลด 50 บาท ครับ
ใช้ได้ถึงสิ้นปี 2562 เลยครับผม

SuperJackCarWash
บริการล้างรถจักรยานยนต์ทุกซีซี

#ติดต่อสอบถาม #จองคิวล่วงหน้า
: 0614490099 ช่างแจ๊ค
คลิ๊กไลน์
https://line.me/ti/p/CqPmnWnc7_


ร้านที่เจ็ด

ร้านล้างและดูแลมอเตอร์ไซค์ศรีมงคล
Srimongkol Bike Wash and Polish Service

ร้านล้างและดูแลมอเตอร์ไซค์ศรีมงคล พิกัดวุฒากาศซอย 8 ปากซอย
Wutthakat 8 Alley, Khwaeng Talat Phlu, Khet Thon Buri, Krung Thep Maha Nakhon 10600
089 443 5699
https://goo.gl/maps/GJk7BoEp5etMEhex5

Page https://www.facebook.com/srimongkolshop/

เบอร์โทร: 0894435699

ร้านเปิดทุกวันอังคาร – อาทิตย์ เวลา 9:00 – 19:00 น. ปิดทุกวันจันทร์

โปรโมชั่นการลด
หากลูกค้าแจ้งว่ามาจากเพจพี่หมีขี่แลม เราลดให้สิบบาท
ระยะเวลา:
วันนี้ – สิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562


ร้านที่แปด

ร้าน Wash A Matter เรามี 2 สาขา มีสาขา รัชดา 18 และ สาขาบางบัวทองไทรน้อย

บริการของเรามีตั้งแต่ล้างสีดูดฝุ่นไปจนถึงเคลือบแก้วเคลือบเซรามิค เรียกได้ว่าครบวงจร ในด้าน Detailing สำหรับ CarCare

สำหรับรถ Vespa Lambretta
ล้างสี >> ล้างเครื่อง >> เคลือบสี
ค่าบริการเพียง 200 บาท

เคลือบแก้ว
>> ราคาเริ่มต้นที่ 4,000
เคลือบเซรามิก
>> ราคาเริ่มต้นที่ 6,000 บาท

แต่แค่คุณบอกว่า มาจากเพจ “พี่หมีขี่แลม” รับส่วนลด 10 % ทันที วันนี้ถึง 31 ตุลาคม 2562 ครับ

เปิดบริการ 09.30 – 20.30 น.
* หยุดทุกวันพุธที่ 2 และ 4 ของเดือน

Wash A Matter สาขารัชดา ตั้งอยู่ในซอยรัชดา 18 >> https://goo.gl/maps/xxbrg8q5Hv7DRRjFA
…………………
สนใจรับบริการ inbox หรือสอบถามรายละเอียด…
Wash A Matter สาขารัชดา
02-274-7747 , 094-229-3949


Wash A Matter สาขาบางบัวทอง 094-229-3949 , 061-664-6563

094-229-3949 , 061-664-6563


Facebook : Wash A Matter สาขาบางบัวทอง
#washamatter #ร้านล้างรถ #รัชดา18 #opticoatpro #opticoatproplus #ceramiccoating #premiumproduct #ผลิตภัณฑ์เคลือบสี #เคลือบสี #เคลือบแก้ว #เคลือบเซรามิก #งานคุณภาพ #ระดับพรีเมียม


ร้านสุดท้ายนะครับ

ร้านHey!moto bike wash
เปิดบริการ
รับล้างรถบิ๊กไบค์แบบdetailing
รับเคลือบเซรามิก #รับฟื้นสภาพผิวรถ
รับล้างโซ #รับเคลือบโซ่
รับเคลือบหมวกกันน็อต
เปิดให้บริการรับล้างรถบิ๊กไบค์ระดับพรีเมี่ยม
เปิดบริการ วันอังคารถึงวันอาทิตย์
เวลา10.00น-19.00น.
รับรถคันสุดท้าย18.00น.
หยุดทุกวันจันทร์
ร้านตั้งอยู่เส้นถนนปัญญารามอินทรา
ก่อนถึงห้างแฟชั่นไอส์แลนด์เบี่ยงซ้ายเข้ามาทางเส้นบางปะอินสังเกตุป้าน ถนนปัญญารามอินทรา


🚩Line ID: audzeno
🚩สายด่วนโทร. 0632340024
🚩รายละเอียดเพิ่มเติม

Page https://www.facebook.com/HeyMOTO-662756693930642/

ราคาล้างรถ เริ่มต้น 250-500 บาท

พี่เจ้าของร้านใจดี มอบส่วนลด 15% ทันที ที่บอกว่ามาจาก เพจพี่หมีขี่แลม

ทุกบริการ ยกเว้น เคลือบเซรามิก ครับ วันนี้ – ธันวาคม 2562


ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ สามารถแชร์ได้ตามสบายครับ

ล้างรถเสร็จแล้วให้กำลังใจพี่หมีด้วยการจิ้มเบาๆ สัก 1 จึ๊กนะครับ Page > www.facebook.com/kumaridelam/

เวสป้า กับ แลมเบรตต้า

Vespa VS Lambretta ในชั่วโมงนี้

Vespa Vs Lambretta  2019 ชั่วโมงนี้
ใครร้อนแรงกว่ากัน เพื่อช่วยเพื่อนๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ระหว่าง SPRINT 150 i-Get ABS กับ New Lambretta V200
ซึ่งพี่หมี ทำชาร์ต เปรียบเทียบมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน

ถ้าคนรู้จัก หรือใครกำลังตัดสินใจอยู่ อย่าลืมแชร์เพื่อให้เขาได้รับรู้กันบ้างนะครับ ขอบคุณมากๆครับ

Page https://www.facebook.com/kumaridelam

CheckList สำหรับเพื่อนๆที่จะออกรถใหม่

สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่จองรถไว้แล้วเตรียมตัวตัวที่จะรับรถ
พี่หมีทำ Checklist เล็กๆน้อยๆเพื่อเป็นแนวทางในการครับผม
สามารถ Print ไปหรือเปิดดูในมือถือได้เลยค้าาบ

ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ สามารถกดแชร์ได้ตามสบายเลยครับ

Page > https://www.facebook.com/kumaridelam

จองเลข

จองเลขทะเบียนสวยๆ

จองเลขทะเบียนใหม่ทำยังไงน้า…ง่ายๆ พี่หมีจะเหลาให้ฟัง

วันนี้พี่หมีจะมาเล่าเกี่ยวกับการจองเลขทะเบียน
ให้กับแลมคันใหม่ หรือรถคันใหม่ของเรากัน
แต่งรถใหม่ แต่ไม่ทะเบียนไม่สวยได้ยังไง จริงมั้ยครับ


โดยปัจจุบัน กรมการขนส่งทางบก ยังไม่มีการจองเลขทะเบียนออนไลน์
สำหรับรถจักรยานยนต์นะครับ(สงสัยไวไฟยังไปไม่ถึง)

จึงทำให้ต้องเดินทางไปดำเนินการเองที่กรมขนส่งทางบก (กรุงเทพฯ) หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด (ต่างจังหวัด) เท่านั้น แต่เมื่อไปถึงแล้วทุกอย่างนั้นเป็นเรื่องง่ายไม่มีอะไรยุ่งยาก และที่สำคัญไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการจองทั้งสิ้น ฟรี ฟรี ฟรี

1. สามารถจองเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์ที่ต้องการได้ก่อนซื้อ

ยังไม่ซื้อรถมอเตอร์ไซค์ก็สามารถไปจองเลขทะเบียนก่อนได้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้จองต้องเป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น โดยเตรียมแค่บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนาบัตรประชาชนและมีหมายเหตุดังนี้

– จองในนามบริษัท/ห้างหุ้นส่วน ต้องเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองบริษัท หรือหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนฯ พร้อมแนบสำเนาหนังสือรับรองเอกสารฯ พร้อมคำขอ�

– จองเลขทะเบียนมากกว่า 1 คัน ต้องแนบหลักฐานการซื้อรถหรือหลักฐานทางทะเบียนรถมาด้วย

2. กรุงเทพฯ จองเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ได้ที่กรมขนส่งทางบก เขตจตุจักร แห่งเดียว/ต่างจังหวัด ไปที่สำนักงานขนส่งทางบกจังหวัด

สำหรับกรุงเทพฯ สามารถจองเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์ได้ที่กรมขนส่งทางบก จตุจักร เท่านั้น โดยจุดที่รับจองเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์จะอยู่ที่อาคาร 2 (อาคารเดียวกับ ต่อทะเบียน, เสียภาษี, โอนทะเบียน, ย้ายรถ) ชั้น 4 ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์


3. ยื่นแบบคำขอจองหมายเลขทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ (รถจักยานยนต์)

เมื่อขึ้นไปถึงอาคาร 2 ชั้น 4 ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ แล้วมองหาป้ายจองเลขรถจักรยานยนต์ ติดต่อเจ้าหน้าที่ขอจองเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์ โดยจะได้รับแบบคำขอจองหมายเลขทะเบียนมากรอก (พี่หมีเตือนว่าอย่าลืมเตรียมปากกาไปเผื่อด้วย) ซึ่งมีช่องให้กรอกไม่มากแค่ ชื่อ, เลขที่บัตรประชาชน, และเลขทะเบียนที่ต้องการ (มีช่องให้กรอกเผื่อไว้หลายเลขเรียงตามลำดับความอยากได้อยากโดนเพื่อไม่ให้เสียเวลา เพราะถ้าเลขลำดับต้นที่ต้องการถูกจองไปก่อนแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะไล่ตามลำดับที่เราเลือกไว้รองลงมาประมาณ 12 ลำดับ) เสร็จแล้วก็ยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ได้เลย

4. รอรับใบจองเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์จากเจ้าหน้าที่

เมื่อยื่นแบบคำขอจองหมายเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์ให้กับเจ้าหน้าที่แล้ว ก็แค่รอรับใบจองเลขทะเบียนจากเจ้าหน้าที่และอย่าลืมตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ โดยขั้นตอนทั้งหมดในการจองเลขทะเบียนมอเตอร์ไซค์นั้นจะไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น. พอได้ใบจองเลขมาแล้ว เราก็ถ่ายรูปส่งไปให้ศูนย์แลมเบรตต้า ที่เราซื้อมา
เเล้วก็ขี่รถแลมเท่ๆ รอไปเดือนสองเดือน หรืออาจจะเร็วกว่านี้ครับ

5. จองเลขทะเบียนแล้วต้องนำรถมอเตอร์ไซค์ไปจดทะเบียนภายใน 60 วัน นับจากวันที่จอง


– เลขทะเบียนที่จองแล้วห้ามเปลี่ยนหรือยกเลิก
– รถมอเตอร์ไซค์ที่ซื้อจะต้องนำไปจดทะเบียน “ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่จองเลข” ซึ่ง “ไม่ใช่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ซื้อรถ” หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วเลขที่จองไว้จะถูกยกเลิก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ซึ่งจะเรียกว่า พัง พลาด แห้ว หรือนก นะจ๊ะ


บทความสำหรับคนขี่แลมนะครับ

แต่หลังจากได้ป้ายทะเบียนมาแล้ว ปัญหาไม่จบจ้า
ปรากฎว่า แลมแบรตต้า ของเรา ใช้กับกรอบทะเบียนทั่วไปไม่ได้นั่นเองพี่หมีลองมาแล้ว ^^!

ซึ่งเรื่องนี้พี่หมีจัดการให้แล้ว ด้วยป้ายทะเบียน D.I.Y. ถึงจะไม่สวยมากมายแต่ใช้งานได้ดี พี่หมีใช้อยู่


มี 4 สี ใส่ได้ทุกรุ่น หรือ เฉพาะ Lambretta ก็มีครับ

เพื่อนๆคนไหนสนใจ สามารถ Inbox

หาพี่หมีได้เลยป้ายทะเบียน DIY สำหรับ New Lambretta โดยเฉพาะครับ
หรือป้ายทะเบียนสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ทั่วทั้งโลกนี้ก็ใส่ได้ครับ 😆😆 ก็มีครับผม ราคาน่ารัก 199 บาท ค่าส่ง 40 บาท

มีสี ดำ แดง น้ำเงิน ขาว สีดำโลโก้ขาว และสีดำโลโก้แดงครับผม

สนใจชิ้นไหนทักทายได้เลยครับ
สนใจติดต่อ in box
โทร. 085-554-3717

Line Official
https://lin.ee/a7lJ3w6
หรือแอดไลน์ @Kuma_services
มี@นำหน้าด้วยครับ

Facebook inbox m.me/kumaridelam

Item ทั้งหมดของพี่หมี > https://m.facebook.com/kumaridelam/shop/

shopee https://shp.ee/fuy4aan
Lazada https://www.lazada.co.th/shop/safe-ver/

Page พี่หมี http://www.facebook.com/kumaridelam/

บทความความรู้เกี่ยวกับแลมเบรตต้า > https://www.kumaridelam.com/

กลุ่ม แลมเบรตต้าสยาม
https://www.facebook.com/groups/558348264811590

โฆษณาแลม

โปสเตอร์แลมเบรตต้าเก่าๆ

วันนี้พี่หมี ได้ไปร้านขายของร้านนึง แถวเจริญกรุง
เห็นโปสเตอร์แปลกๆรูปช้างจึงสังเกตดู
จึงรู้ว่าเป็น โฆษณาแลมเบรตต้า ซึ่งน่าจะเก่ามาก
มีช้างสามตัว🐘🐘🐘 ขี่ กัน ฮามั่กๆ🤣🤣
น่าจะบ่งบอกถึงความเเข็งแรง
และทนทาน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เจ้าของร้านเก็บรักษาของได้
ดีมากเลยครับ
แต่พี่หมีขอโทษที ที่เเสงมันเข้ามาเยอะทำให้ดูลำบากนิดนึง
mods vs rock

Mods vs Rockers ตำนานการปะทะของชาวสองล้อ

แม้เวลาจะผ่านมานานถึง 52 ปีแล้ว แต่เหตุการณ์ปะทะกันในเมืองไบรท์ตัน ระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่รู้จักกันในนามชาว Mods กับ Rockers ก็ยังคงเป็นประเด็นของบทสนทนาในกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบรถมอเตอร์ไซค์ทั้งสองสไตล์นี้อยู่ รวมไปถึงแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ของพวกเขาที่ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้เช่นกัน
Mods
     
       กลุ่มคนหัวสมัยใหม่จากยุค ‘60s ที่รับอิทธิพลมาจากความหลากหลายของศิลปะ ดนตรี แฟชั่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม และการออกแบบต่างๆ การแต่งกายสะอาด เนี๊ยบ สุภาพ เข้ารูป สไตล์อิตาเลียน เสื้อแจ็คเก็ตยาว Parkas สัญลักษณ์ของพวกเขาคือธงยูเนียน แจ็ค กับ เป้าธนูที่จะมีติดอยู่ในหลายๆ ที่เสมอ โดยดนตรีที่พวกเขาชื่นชอบก็จะเป็นดนตรีแนวรื่นรมย์ ไม่ดุดันเหมือนชาวร็อก คือ Miles Davis, Charlie Parker, Modern Jazz Quartet หรือถ้าร็อกขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นร็อกอังกฤษอย่างพวก The Who, The Kinks, The Yardbirds และ The Small Faces



Scooter
            เนื่องจากในยุคนั้นการขนส่งสาธารณะยังไม่ค่อยดีนัก รถยนต์ก็มีราคาแพง ชาว Mods ส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นกลางระดับล่างจึงเลือกใช้รถสกูตเตอร์ที่มีราคาถูกกว่ารถยนต์ ยี่ห้ออย่าง Lambretta หรือ Vespa โดยช่วงเวลานั้นทางอังกฤษได้ออกกฎหมายขึ้นใหม่ให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องมีกระจกข้างอย่างน้อยหนึ่งอัน ชาว Mods จึงประชดประชันด้วยการใส่กระจกไปมากกว่า 4 อัน รวมไปถึงไฟที่ติดหลายๆ ดวงด้วย
Rockers
            วัฒนธรรมย่อยของประเทศอังกฤษช่วงหลังสงครามยุค ‘50s จนถึงช่วงต้นยุค ‘60s โดยระหว่างยุค ‘50s พวกเขาเป็นที่รู้จักในนาม Yon-Up boys ซึ่งมาจากศัพท์แสลงของประเทศอังกฤษ doing the ton หมายถึงการขับมอเตอร์ไซค์ด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 100 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่งตัวด้วยเสื้อหนังปักหมุด อาร์ม หรือเข็มกลัดตราสัญลักษณ์แก็งค์ เพื่อป้องกันจากอากาศที่หนาวเหน็บ และอันตรายจากอุบัติเหตุ ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขามียังคลั่งไคล้เพลง ร็อก แอนด์ โรลล์ อย่างหนัก มี Chuck Berry, Edde Cochran และ Gene Vincent เป็นไอดอล

Café Racer
            มอเตอร์ไซค์แฮนด์ต่ำ สิ่งที่ชาว Rockers บูชาไม่แพ้ ดนตรีร็อก แอนด์ โรลล์ และแฟชั่น เป็นพาหนะที่เปรียบเหมือนไอเท็มชิ้นสำคัญ อยู่เคียงข้าง Rockers เสมอ โดยในยุคนั้นจะมีเกมเรียกว่า record-racing เป็นเกมที่จะต้องขี่รถมอเตอร์ไซค์จากคาเฟไปยังจุดหมายที่กำหนดไว้แล้วกลับมาคาเฟ่อีกครั้งให้ทันก่อนที่ตู้เพลงจะเล่นจบเพลง ซึ่งมอเตอร์ไซค์แบบนี้แต่งขึ้นมาเพื่อแข่งบนทางเรียบโดยเฉพาะ และช่วงหลายปีมานี้แนวการแต่งรถมอเตอร์ไซค์แบบคาเฟ่ เรเซอร์ก็กลับได้รับความนิยมอีกครั้ง
Live Different
            สไตล์การใช้ชีวิตที่ค่อนข้างแตกต่างกันทำให้สองวัฒนธรรมนี้เป็นศัตรูกัน Mods มองว่าการไว้ผมยาว ใส่เสื้อหนัง ฟังเพลงร็อก ขับรถมอเตอร์ไซค์คันใหญ่ของพวก Rockers ไม่มีสไตล์ ส่วน Rockers มองสกูตเตอร์ด้วยสายตาเย้ยหยัน และคิดว่าชาว Mods เป็นพวกหยิ่ง และเหมือนผู้หญิง
Battle of Brighton
            ด้วยความชอบ และไลฟ์สไตล์ที่ไม่เหมือนกันทำให้ชาว Mods และ Rockers มีเหตุปะทะกันอยู่เป็นประจำ แต่เรื่องราวมาพีคสุดๆ ในช่วงวันหยุดอีสเตอร์ ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม ปี 1964 วันนั้น ณ ชายหาดเมืองไบรท์ตันถูกยึดด้วยจำนานแก็งค์มอเตอร์ไซค์กว่า 3,000 คัน โดยมีชาว Rockers อยู่กลางวง มีชาวสกูตเตอร์ล้อมรอบ เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อหนึ่งในชาว Mods ปาก้อนหินเข้าไป นั่นคือการตัดริบบิ้นเปิดงานให้กับศึกปะทะครั้งใหญ่ในครั้งนั้น ผู้คนที่ไม่เกี่ยวข้องวิ่งหนีกันอย่างชุลมุน ทั้งสองฝ่ายบ้าคลั่งเข้าปะทะกันอย่างรุนแรงจนกลายเป็นข่าวใหญ่ และยังคงถูกเล่าต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
 Quadrophenia
            สตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 6 เมื่อปี 1973 ของวงดนตรีขวัญใจชาว Mods อย่าง The Who มาในรูปแบบร็อกโอเปร่า ดับเบิ้ลอัลบั้ม เล่าเรื่องราวชีวิตของจิมมี่เด็กหนุ่มที่กำลังค้นหาตัวตน แนวคิด และสิ่งสำคัญของตัวเอง โดยมีฉากหลังเป็นกรุงลอนดอนช่วงปี 1964 และแน่นอนว่ามีเหตุการณ์ปะทะกันที่ไบรท์ตันของ Mods กับ Rockers รวมอยู่ด้วย หลังจากอัลบั้มออกมาได้ 6 ปีก็มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ให้หนุ่ม จิมมี่ คูเปอร์ มีชีวิตโลดแล่นอยู่บนจอเงิน โดยมี แฟรงค์ ร็อดดัม เป็นผุ้กำกับ และนับแต่นั้น Quadrophenia ก็กลายเป็นทั้งอัลบั้มโปรดและภาพยนตร์ที่ชาว Mods ต้องหามาดู



เรื่อง: Sarttra Feangkasem
ภาพ: mirror, flaskbak, influx
ประวัติLambretta

พี่หมีอยากเล่าประวัติ Lambretta

จากการเยี่ยมชมโรงงานของ Starace เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1939 เขาได้กล่าวไว้ว่าโรงงานของ Innocenti “ มีลักษณะแบบฟาสซิสต์ ” เพราะทำการผลิตเฉพาะกระสุนปืนเท่านั้น แรงงานประมาณ 90% ถูกนำไปใช้ในการผลิตเพื่อการสงครามในปี 1939 คนงานของ Innocenti ผลิตกระสุนปืนคิดเป็น 5.5% ของการผลิต ยุทธปัจจัยทั้งหมด ของอิตาลแต่เมื่อคำนึงถึงการผลิตทางด้านเครื่องจักรก ลแล้วกลับมีปริมาณถึง 17% ของการผลิตทั้งหมดภายในเวลาเพียง 4 ปี Innocenti สามารถสร้างโรงงานได้เพิ่มขึ้นสามเท่าตัว และสร้างยอดการผลิตได้ถึงสิบเท่า 

โดยในปี 1943 เขาสามารถผลิตกระสุนปืนได้ถึง 36,000 นัดต่อวัน ในปี 1938 โรงงานที่ Milan มีจำนวนคนงานประมาณ 800 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 – 3,000 – 6,000 คน และมากกว่า 7,000 คนในปี 1940 – 1942 และ 1943 ตามลำดับคนงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ และในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงถึง 50% 

Innocenti สามารถทำกำไรได้ถึง 2,119,000 ลีร์ในปี 1939 – 4,231,000 ลีร์ ในปี 1940 – 10,118,500 ลีร์ ในปี 1941 – 12,298,000 ลีร์ ในปี 1942 และ 10,783,000 ลีร์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1943 เงินสำรองเพิ่มขึ้นจาก 2,200,000 เป็น 8,468,000
และในวันที่ 11 มีนาคม 1940 คณะกรรมการบริหารได้เพิ่มเงินลงทุนจาก 20 ล้าน ลีร์ เป็น 50 ล้าน ลีร์ และเมื่อวันที่ 8 เมษายน 1941 ก็ได้เพิ่มเงินลงทุนจาก 50 ล้าน ลีร์ เป็น 100 ลีร์ เพิ่มจำนวนหุ้นเป็น 80,000 หุ้นในราคาหุ้นละ 1,000 ลีร์ จำนวนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 12 รายลดเหลือเพียง 3 รายการเท่านั้น ( Ferdinando Innocenti 80%, Rosolino 15% และ Missiroli 5%) 

และในวันที่ 11 มีนาคม 1940 คณะกรรมการได้มีมติเลือก Edmond Balbo พี่น้องตระกูล Innocenti และ Paolo Missiroli ให้เป็นกรรมการบริหารชุดใหม่ ในปี 1942 Innocenti รู้สึกว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแยกบริษัทออก ส่วนหนึ่งนั้นตั้งชื่อว่า Lambro ทำหน้าที่ในการผลิต อีกส่วนหนึ่งนั้นตั้งชื่อว่า ATA ( Applicazioni Tubolari Acciaio) ดำเนินการทางด้านการค้าเป็นหลัก แต่จากภาวะสงครามในปี 1943 ทำให้เขาต้องระงับความคิดนี้ไว้ก่อน จนกระทั่งถึงวันที่ 29 เมษายน 1943 Innocenti จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริหาร เป็นทั้งผู้บริหารและผู้จัดการทั่วไปแต่เพียงผู้เดียว 

หลังวันที่ 8 กันยายน 1943 บริษัทต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพเยอรมัน แม้ว่าจะมีแรงต่อต้านจากภายในก็ตาม ในช่วงเวลานั้นการผลิตเพื่ออุดหนุนกองทัพยังคงดำเนิน ต่อไป ในช่วงนี้ Innocenti ยังคงติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทของเขาอยู่เสมอ และสร้างสายสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างสมดุลระหว่าง เยอรมัน RSI CLN และกลุ่มพลังประชาธิปไตย เขายังได้ให้เงินอุดหนุนแก่กองกำลังใต้ดินของอิตาลีด ้วย นายพล Poletti ชื่นชมในความเฉลียวฉลาดในการประสานผลประโยชน์ของเขาม าก และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาไม่ได้ถูกกวาดล้างโ ดยกองกำลัง ฝ่ายสัมพันธมิตร จาก Rome เขาสามารถมองเห็นความรุ่งเรืองของ วงการอุตสาหกรรมครั้งใหม่ภายหลังสงครามยุติ และนี่คือความหวังของเขาที่จะรักษาโรงงานต่าง ๆ ของเขาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเริ่มสายการผลิตใหม่ และหากจะมีโรงงานบางแห่งที่ถูกโจมตีจากกองกำลังพันธม ิตร ก็คงเป็นส่วนที่ไม่มีความสำคัญมากนัก การชะลอการผลิตในช่วงนี้กลับเป็นผลดี เพราะสามารถนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาใช้เป็นค่าก่อสร้างโรงงานใหม่ได้ หลังสงครามสงบ Innocenti ได้เดินทางกลับ Milan และภายหลังการประชุมกับพวกคนงานจนประสบความสำเร็จ เขาก็เริ่มแผนงานใหม่ของเขาทันที แผนงานใหม่นี้มีทั้งสิ้น 3 ระดับ คือ 
1. ผลิตยานยนต์ราคาต่ำเพื่อผู้ใช้แรงงาน 
2. สร้างเครื่องจักรกลโลหะ และก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม 
3. พัฒนากระบวนการ sintering 

ยานยนต์ที่สร้างขึ้นคือ Lambretta ซึ่งเขาได้ความคิดมาจากยานยนต์ที่ทิ้งลงมาจากร่มชูชี พของกองทัพอังกฤษ Innocenti คิดว่ายานยนต์ลักษณะนี้คงได้รับความสนใจภายในประเทศ เพราะประชาชนมีความต้องการยานพาหนะที่สามารถเดินทางไ ด้รวดเร็วขึ้นที่ Guidonia Innocenti ได้มีโอกาสพูดคุยกับพันเอก D’ascanio แต่ ปรากฎว่าความคิดของเขาทั้งสองไม่ตรงกันในเรื่องการออกแบบยานยนต์ ดังกล่าว ต่อมา D’ascanio ได้หันไปร่วมมือกับ 
Piaggio เพื่อทำการผลิต Vespa อย่างไรก็ตาม Innocenti พยายามติดต่อกับนายทหารคนอื่นอีกที่ทำงานอยู่ในศูนย์ วิศวกรรม Guidonia ในที่สุดเขาก็ได้พบกับพันเอก Torre ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น “ บิดาของ Lambretta ” ในส่วนของโครงการหล่อเหล็กนั้น Innocenti ต้องการได้ผลงานของ Calmes แห่ง Apuania เพื่อนำมาผลิตเหล็กท่อไร้ตะเข็บ และในส่วนของ sintered materials เขามีความคิดที่จะผลิตประกับเพลาสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า และ endothermic machinery นี่คือโครงการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงโครงสร้างใหม่ 

โดยการเน้นที่คุณภาพและปริมาณของแรงงานในขณะนั้นมีแร งงานที่มีฝีมือในระดับผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้างาน 691 คน แรงงานไร้ฝีมือ 969 คน ซึ่งเป็นผู้หญิงเสีย 729 คน แรงงานเด็ก 146 คน รวมแรงงานทั้งสิ้นประมาณ 2,767 คน แรงงานทั้งหมดนี้แบ่งเป็นแรงงานที่โรงงาน Lambrate 1,900 คน โรงงาน Guerra III 500 คน โรงงาน Guerra II 367 คน และอีกประมาณ 100 คน ซึ่งทำงานนอกเขตโรงงาน เช่นที่ ATA เป็นต้น ดังนั้น จึงมีนโยบายลดคนงานให้เหลือเพียง 970 คน โดยต้องทำการปลดคนงานออกถึง 2,000 คน ในช่วงปลายปี 1945 การดำเนินงานเป็นไปด้วยความลำบาก มีลูกจ้างประมาณ 100 คนเท่านั้นที่ทำงานที่สำนักงานใน Bezzi 

ถึงแม้จะมีการปลดคนงานออกเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถลดรายจ่ายลงได้ ดังนั้นจึงมีการขายวัตถุดิบออกไปในราคา 42 ล้าน ลีร์ รวมกับเงินอุดหนุนที่ได้จาก Dalmine ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออีก 3 ล้าน ลีร์ แต่บริษัทยังต้องการเงินอีกประมาณ 175 ล้าน ลีร์ ซึ่งเงินส่วนนี้ได้รับการช่วยเหลือจากเยอรมันในรูปขอ งสินเชื่อ ในช่วงต้นปี 1946 บริษัทของ Innocenti มีคนงานทั้งหมด 800 คน รวมกับลูกจ้างอีก 150 คน ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1946 ทางบริษัทได้รับเงินอุดหนุนการลงทุนงวดแรก 300 ล้าน ลีร์ แต่ผลของการขาดแคลนถ่านหินและกระแสไฟฟ้า ทำให้การดำเนินงานหลาย ๆ อย่างต้องชะงักลง และต้องเลิกการผลิต sintering เพราะขาดแคลนเทคโนโลยี เมื่อสิ้นปี 1946 มีการสั่งซื้อเข้ามาบ้าง เช่น Dalmine สั่งซื้อเครื่องจักร 6 เครื่อง ยูโกสลาเวียสั่งซื้อเหล็กม้วน 3,200 ตัน อย่างไรก็ตาม สินค้าเหล่านี้จ่ายเป็นวัตถุดิบและถ่านหินแทน การผลิต scooter ต้องชะลอออกไป เพราะการขาดแคลนพลังงานและวัตถุดิบ ยิ่งไปกว่านั้นการผลิตดังกล่าวก็เป็นของใหม่สำหรับบริษัท Lambretta ชุดแรกจำนวน 25 คัน สร้างเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะนำ Lambretta จำนวน 2 คันพร้อมกับรถแวนอีก 1 คันไปแสดงที่ปารีส 

บริษัทมีกำหนดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในเดือนเมษายน 1948 โครงการหล่ออลูมิเนียมกำลังเริ่มดำเนินงาน ในขณะเดียวกันก็จัดเตรียมอุปกรณ์ในการผลิตเหล็กหล่อ ฐานะการเงินของบริษัทในช่วงนี้อยู่ในขั้นวิกฤต แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนเมษายน เพราะได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก ของ อเมริการเป็นจำนวน 1,000 ล้านดอ์
อนึ่ง แทนที่จะสามารถผลิต Lambretta ได้วันละ 150 คัน แต่ ปรากฎว่าผลิตได้จริงเพียงวันละ 10 คันเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการจัดการที่ผิดพลาดและขาดเงินทุน Calbiani ได้เข้ามาปรับปรุงองค์กรใหม่ และวางแผนที่จะผลิต Lambretta ให้ได้วันละ 25 — 30 คันในเวลาอันสั้น เครื่องหล่อถูกใช้งานอย่างเต็มที่เพื่อผลิตชิ้นส่วต่าง ๆ ขณะเดียวกัน Innocenti ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานที่ Apuania ขึ้นใหม่ ซึ่งเขาจะใช้เป็นสถานที่ผลิตเหล็กท่อ ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากการระดมเงินทุนและการปรับการจ ัดการบริษัทเสียใหม่ สำหรับโรงงาน Lambrate นั้นบริหารงานโดย Lauro ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขา และได้รับการยอมรับมากจากผลงานการทำงานที่ Navalmeccanica และ IRI อย่างไรก็ตาม แผนกผลิตเครื่องยนต์ยังประสบปัญหาอยู่ 


Lauro ถึงกับบ่นว่า “ การผลิต scooter เหมือนกับเป็นการผจญภัยที่นำบริษัทไปสู่หายนะ ” นอกจากนั้น Moro ยังได้แสดงความสงสัยต่อคณะกรรมการบริหารว่า “ เพราะการทำงานที่ผิดพลาดในการผลิต Lambretta ทำให้บริษัทต้องเสียหายอย่างใหญ่หลวง ” เพราะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้ถึง 500 ล้าน ลีร์ จุดประสงค์หลักของโครงการคือ การประเมินความเป็นไปได้ในการเจาะตลาด scooter ด้วยการผลิตสินค้าราคาถูกสำหรับ “ ผู้ใช้แรงงาน ” และด้วยเครื่องยนต์ขนาด 20 แรงม้า 
Lambretta โมเดล M ( รุ่นแรก)หรือ โมเดล A เริ่มผลิตในช่วงปลายปี 1948 และทั้ง ๆ ที่มีศักยภาพที่จะผลิตได้ถึง 80 – 85 คัน / วัน แต่กลับผลิตได้จริงเพียงวันละ 70 คันเท่านั้น ทั้งนี้เพราะตลาดยังไม่ยอมรับเท่าที่ควร ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีถัดมาเริ่มมีการส่งออกไปจำหน่ายในอเมริกาและอาร์เจนตินาจำนวน 20,000 คัน 
พี่หมีว่ามันเหมือนจักรยานมั่กๆ

ในขณะเดียวกันทางบริษัทก็เริ่มทำการออกแบบรุ่นที่สอง (โมเดล 😎 ตามมา 
โดยมีกำหนดจะทำการผลิตจริงในปี 1949 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขจุดอ่อนต่าง ๆ ของรุ่นก่อนหน้านี้ รถรุ่นที่สองนี้มีลักษณะเหมือนกับรถรุ่นแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการใช้เครื่องยนต์ชนิดเดียวกัน แต่มีการตั้งระบบกันกระเทือนทั้งหน้าและหลังเพิ่มเข้ ามา เปลี่ยนจากเกียร์เท้ามาเป็นเกียร์มือ เปลี่ยนขนาดล้อจาก 7” เป็น 8” พร้อมทั้งมีการพ่นสี เมทัลลิ คด้วย ในช่วงนี้บริษัทได้เปลี่ยนสภาพกลายเป็นบริษัทที่ทันส มัยและประสิทธิภาพ ประธานบริษัทคือ Ferdinando Innocenti และได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจาก Firamonti และ Fumagalli Lauro ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทั่วไป Guani ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการส่วนกลาง ผู้จัดการฝ่ายบริหารได้แก่ Moro Rey ควบคุมแผนกเครื่องยนต์และวิศวกรรม จนถึงเดือนมิถุนายน 1949 จึงเปลี่ยนมาเป็น Parolari ปลายเดือนตุลาคม 1948 Lambreta โมเดล A 
ผลิตได้ทั้งหมด 9,660 คันและหยุดการผลิตในทันที จากบัญชีค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1949 พบว่าบริษัทของเขาขาดทุนถึง 800 ล้าน ลีร์ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับ Innocenti เพราะในช่วงสามเดือนแรกของการจำหน่ายโมเดล B ยอดขาดทุนลดเหลือเพียง 200 ล้าน ลีร์เท่านั้น ในระยะนี้การจัดองค์การผลิตเริ่มดีขึ้น และสามารถเพิ่มยอดการผลิตจากวันละ 70 คันเมื่อเดือนมกราคม เป็น 150 คันต่อวัน  ในเดือนกรกฎาคม 

วันที่ 30 มิถุนายน 1949 มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารใหม่คือ Ferdinando Innocenti ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Lauro รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โดยมีที่ปรึกษาคือ Luigi Innocenti ( ลูกชาย Ferdinando ) และ Pestalozzi 
ในเดือนมกราคม 1959 Lambretta ได้ทำการผลิตรถรุ่นปรับปรุงใหม่อีกสองรุ่น ( 125 C และ 125 LC) 

โดยวางแผนการผลิตไว้ 60,000 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีกลายถึงสองเท่า การผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้หมายรวมถึงการก่อสร้างโรงงานเ คลือบสี และการผลิตอุปกรณ์ทันสมัยต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเกียร์และแม่พิมพ์ชิ้นส่วนอลูมิเนียมต่าง ๆ การผลิตรถรุ่นใหม่เริ่มดำเนินการก่อนการวางสายการผลิ ตจะสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะสินค้า หมดสต๊อค ในเดือนพฤษภาคมเดือนเดียวสามารถผลิตได้ถึง 5,500 คัน ในเดือนกรกฎาคมสามารถผลิตได้ถึงวันละ 260 คัน คิดเป็น 6,200 คันต่อเดือน ในปี 1951 ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 คันต่อเดือน จากการที่ยอดขายสินค้าดีเกินกว่าที่คาดหวังไว้ ดังนั้น ในปี 1952 Innocenti จึงตัดสินใจที่จะเพิ่มยอดผลิตให้ได้เดือนละ 8,000 คัน ในเดือนธันวาคม 1951 รถรุ่นใหม่อีกสองรุ่นก็พร้อมออกวางจำหน่าย นั่นคือรุ่น D 
และ Dl รถโมเดล D จะมีราคาถูก ส่วนโมเดล Dl ราคาปานกลางแต่ดูดีกว่า

ในช่วงเดียวกัน NSU เยอรมันได้ขอซื้อสิทธิ์ในการผลิต ( 1950) เช่นเดียวกับในฝรั่งเศสที่มีโครงการจะผลิตให้ได้ 13,000 คัน อย่างไรก็ตาม Innocenti ก็ยังได้รับส่วนแบ่งอย่างงามจากบริษัทเหล่านี้ ในส่วนของโมเดล D สามารถผลิตได้เดือนละ 8,000 คัน ในปี 1952 ยอดการผลิตรวมทั้งหมดคือ 96,000 คัน ในจำนวนนี้ทำการส่งออก 16,000 คัน จากยอดการผลิตจำนวนมากเช่นนี้ จึงไม่สามารถวางจำหน่ายในตลาดภายในประเทศได้หมด ยิ่งไปกว่านั้น การบุกตลาดนอกประเทศก็ได้รับการต่อต้านพอสมควร ดังนั้นในปี 1953 Innocenti จึงตัดสินใจผลิตสินค้าราคาถูกขึ้นมา ซึ่งก็ได้แก่ scooter โมเดล E โดยตั้งเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 70,000 – 80,000 คัน ส่วนโมเดล LD นั้นตั้งเป้าหมายการผลิตไว้ที่ 40,000 – 50,000 คันเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อรักษายอดขายให้อยู่ในระดับเท่าเดิม ทว่าปริมาณความต้องการกลับน้อยกว่าระดับที่ประมาณการ ณ์ไว้ ถึงแม้ยอดรายได้จะเพิ่มขึ้นถึง 11% เมื่อเทียบกับปี 1952 อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันได้มีการผลิตรถแวนตัวอย่างออกมา 1,063 คัน และเพิ่มเป็น 4,780 คันในปีถัดมา โดยมียอดการส่งออกคิดเป็น 25% ของยอดผลิตทั้งหมด 

ในปี 1955 บริษัทของ Innocenti ได้รับงานขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นั่นคืองานก่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ในเวเนซุเอลา ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างถึง 350 ล้านดอลลาร์ ในการนี้ Fiat ก็ได้เข้าร่วมการประมูลด้วย และต่อมาทั้งสองบริษัทก็ได้ร่วมงานกัน โรงงานดังกล่าวเริ่มก่อสร้างในปี 1956 แต่ต่อมา Fiat ขอถอนตัว Innocenti ได้รับเงินในครั้งนี้ประมาณ 40,000 ล้าน ลีร์ แม้จะมีอุปสรรคอยู่บ้างในระยะแรกกับรัฐบาลของ Jaminez แต่การก่อสร้างก็เสร็จสมบูรณ์

การผลิต scooter ในปี 1955 ประสบผลสำเร็จพอสมควร แม้จะไม่ดีเท่ากับปี 1953 ก็ตาม ในช่วงต้นปี 1955 Innocenti ได้ริเริ่มทำการผลิตมอเตอร์ ไซต์ขนาด 48 cc. สองจังหวะออกจำหน่าย ( Lambrettino 48) โดยมียอดผลิตทั้งสิ้น 6,000 คัน และเพิ่มเป็น 20,000 คันในปี 1956 ในปีนี้ยอดการผลิตรวม (ทั้ง scooter และมอเตอร์ ไซต์) เพิ่มขึ้น 20% ในช่วงระหว่างปี 1958 — 1963 วงการอุตสาหกรรมในอิตาลีรุ่งเรืองมาก ในปี 1961 ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 97% เมื่อเทียบกับปี 1953 ในสภาวการณ์เช่นนี้ Innocenti ก็ทำการเพิ่มยอดการผลิตของบริษัทของเขาเช่นกัน โดยเขาได้เริ่มผลิตรถยนต์เป็นจำนวน 100 คันในปี 1957 ขยับเพิ่มเป็น 103.5 คัน ในปี 1958 ในปี 1959 ผลิตได้ 120 คัน และเพิ่มเป็น 148 คันในปี 1960 

ในส่วนของอุตสาหกรรมเครื่องกลหนัก ในปี 1950 สามารถผลิตได้ 2,800 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 21,550 ตันในปี 1960 ผลกำไรเมื่อสิ้นปี 1960 สูงถึง 59% เมื่อเทียบกับปี 1950 ทุนสำรองเพิ่มขึ้นถึง 2,000% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจในเวเนซุเอลา Luigi ลูกชายของเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานบริษั ทในปี 1958 ซึ่งได้ทำให้ความฝันของเขากลายเป็นจริง นั่นคือความฝันในการผลิตรถยนต์ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนม หาศาล อันเป็นผลมาจากการผลิตในช่วงที่ผ่านมา

ในปี 1957 Torre ได้รับการขอร้องให้ออกแบบรถยนต์ขนาดเล็ก แต่ Parolari ได้ระงับโครงการนี้ไว้ เพราะเขาต้องการที่จะเป็นผู้นำในวงการยานยนต์แต่เพีย งผู้เดียว ในช่วงระหว่างปี 1957 – 1958 Torre ก็ได้ออกแบบรถอเนกประสงค์ต้นแบบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถผลิตได้ในโรงงานของ Innocenti แต่โครงการดังกล่าวก็ต้องถูกยกเลิกไปในปีถัดมา ถึงแม้จะมีการตกลงกันไว้แล้วกับ Gogomobil Iseria ในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้น Innocenti เองก็ไม่ต้องการที่จะแข่งขันกับ Fiat ด้วย ในปี 1959 บริษัท BMC แห่ง Birmingham ได้ทำสัญญากับ Innocenti ที่จะผลิต Austin A40 ออกมา


ข้อตกลงดังกล่าวนั้นรวมถึงการประกอบและเคลือบสีชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ผลิตโดย BMC การเจรจาใช้เวลาถึง 7 เดือนกว่าจะประสบผลสำเร็จ สายงานการผลิต A40 สำเร็จเรียบร้อยภายในเวลาปีเศษ จนถึงปลายปี 1960 จึงเริ่มทำการผลิตได้วันละ 100 คัน ในระหว่างปี 1961 — 1962 แผนกขึ้นรูปก็พร้อมสำหรับการผลิต A40 ยอดผลิตในปี 1962 มีทั้งสิ้น 20,900 คัน และเพิ่มเป็น 30,600 คันในปี 1963 เพราะมีการผลิตโมเดล IM3 เพิ่มเข้ามา Fernandino Innocenti Luigi เสียชีวิตในปี 1966 ขณะที่มีอายุได้ 85 ปี Luigi ลูกชายของเขาเป็นผู้รับมรดกที่เขาทิ้งไว้ และก้าวขึ้นเป็นประธานบริษัทคนต่อมา

modsคืออะไร

MODS STYLE คืออะไร?


 ถ้า Greaser Style(เสื้อยืดกางเกง ยีนส์ สไตล์ James Dean)  คือ Style ที่เจ๋งที่สุดจากฝั่งอเมริกา Mods Style ก็ถือเป็น Style ที่เจ๋งที่สุดจากฝั่งอังกฤษแหละครับ เริ่มต้นช่วงปี 1960s ในประเทศอังกฤษ และค่อยๆ ขยายตัวออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ในยุโรป ซึ่งรากของมันเกิดจากวัยรุ่นปลายยุค 1950s เริ่มมีกลุ่มที่ตีตัวออกจากความเป็น Rock and Roll หันไปฟังเพลงแนว Modern Jazz มากขึ้น ลักษณะสำคัญของยุค Mods คือจะชอบการตัดเย็บเสื้อผ้าที่เฉพาะเจาะจงแบบ Bespoke มากเป็นพิเศษ หลักๆ แล้ว Mods Style คืออะไรที่ตรงกันข้ามกับ Rock and Roll นั่นเอง
วงดนตรีที่ขึ้นชื่อที่สุดวงหนึ่งในยุคนี้คงหนีไม่พ้น The Who / Small Faces เป็นต้น ถ้าคิดไม่ค่อยออกว่าการแต่งตัวแนว Mods เป็นยังไงให้ลองนึกถึงวงดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดวงหนึ่งของโลกอย่าง The Beatles (ในช่วงแรกๆ) นั่นแหละครับคือสไตล์ Mods โดยแท้ ซึ่งพูดกันตรงๆ Fashion Mods ถือเป็นสิ่งที่ไม่ตกเทรนเลย เท่ห์เนี๊ยบดูดี และขี่ Scooters แตกต่างจาก Rock and Roll ที่จะเซอร์ๆ หนักๆ ขาดๆ  และเลือกขับ Big Bike เป็นต้น เเต่พี่หมีก็อยากให้ชาวแลมได้Lock เหมือนกัน แต่เป็นการLockกันรถหาย พี่หมีชวนRock
ช่วงปี 1960s ช่วงนั้นผู้คนส่วนมากมักนิยมกางเกงทรงขาตรง แต่ถามถึง Mods Style จะชอบใส่กางเกงที่พอดีตัวมากกว่า กล่าวคือมักจะเดินเข้าร้านตัดเสื้อผ้าที่ต้องวัดตัว เพื่อให้ได้ขนาดที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลเท่านั้น จึงได้ทรงเสื้อผ้าที่เข้ารูปมากกว่าเสื้อผ้าทั่วๆ ไป ที่นิยมใส่กันของคนหมู่มาก มักใส่สูทผูกเนคไทเส้นเล็กๆ แบบ Skinny Tie ใส่เสื้อเชิ๊ต Button-Down Collar นิยมใส่เสื้อ Jumper ที่ผลิตจากผ้าขนสัตว์และผ้า Cashmere (มีความหรูอยู่ในสายเลือดแบบฉบับผู้ดีอังกฤษ)
รองเท้ามักนิยม Chealsea Boots / Loafers / Clarks Desert Boots / และ Bowling Shoes อีกลักษณะเด่นที่สุดคือการขับรถ Scooters แทนที่จะเลือกขับมอเตอร์ไซค์แบบชนชาติอเมริกา Mods Style ชอบให้เสื้อผ้าดูสะอาดเป็นพิเศษ และวิธีและท่านั่งของการขับ Scooters ก็ยิ่งช่วยให้เสื้อผ้าพวกเขาดูดีอยู่เสมอ แต่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยพวกเขาจึงนิยมใส่เสื้อ Parkas เป็นตัวนอกนั่นเอง (ป้องกันสิ่งสกปรกเลอะเสื้อผ้าของพวกเขา)
นอกจากจะมีรสนิยมด้านการฟังเพลงที่ดีแล้ว ยังเลือกที่จะแต่งตัวให้ดูดีมีสไตล์แบบ Tailored Made จึงไม่แปลกใจเลยครับที่ปัจจุบันยังคงมีคนให้ความสนใจแต่งตัวสไตล์นี้อยู่มากมาย เพราะนอกจากจะเท่ห์แบบผู้ดีอังกฤษแล้ว การแต่งตัวแบบนี้ยังเข้ากับสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะแต่งไป Date กับสาว หรือไปคุยงานกับเจ้านาย รวมถึงแต่งตัวไปร่วมงานสำคัญต่างๆ ก็สามารถครับ MDs’ คิดว่านี่แหละครับคือการแต่งกายแนวสุภาพบุรุษอย่างแท้จริงพี่หมีว่ามันเท่จริงๆ นะครับ ทั้งรถทั้งคน